30.9 C
Bangkok
Sunday, September 8, 2024

การตัดถนนใหม่มีทั้งประโยชน์และผลกระทบ

ถนน 1 ในปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาในทำเลใดทำเลหนึ่ง แม้ว่าปัจจุบันจะมีเรื่องของเส้นทางรถไฟฟ้าที่เข้ามาเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทำเลมากกว่าแบบชัดเจน

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกทำเลของกรุงเทพมหานครจะมีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน หลายๆ ทำเลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะอิทธิพลของถนนเส้นทางใหม่

ก่อนหน้านี้หลายปีที่เห็นได้ชัดเจน คือ พื้นที่ 2 ข้างทางของถนนราชพฤกษ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องมาโดยตลอดหลังจากที่ถนนราชพฤกษ์เปิดให้บริการ และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

เช่นกันกับอีกหลายถนนที่เปิดให้บริการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น ถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และถนนเทพรักษ์

และล่าสุดที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน คือ เมื่อถนนถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้ามีแนวเส้นทางที่ชัดเจน จนถึงเมื่อมีการก่อสร้าง จะเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และยังเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

การตัดถนนเส้นทางใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มเส้นทางเชื่อมต่อ หรือขยายถนนเดิม และต่อขยายไปอีกถนนหนึ่งเพื่อความสะดวกในการเดินทางและลดความแออัดของถนนบางเส้นทาง

ซึ่งแตกต่างจากการตัดถนนในอดีตที่อาจจะเน้นไปที่การเดินทางจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง

การตัดถนนเป็นการเปิดหน้าดินหรือเป็นการเปิดพื้นที่ตลอดทั้ง 2 ฝั่งให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการทำให้พื้นที่ทั้ง 2 ฝั่งถนนได้รับความสนใจมากขึ้น พื้นที่ทั้ง 2

ฝั่งของถนนหลายๆ เส้นทางจึงเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วมาก มีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นมากมายในเวลาไม่นาน บางถนนยังไม่ทันเปิดให้บริการแบบเป็นทางการ ก็มีผู้ประกอบการขึ้นป้ายประกาศความเป็นเจ้าของเกือบเต็ม 2 ฝั่งถนนแล้ว

เรื่องของถนนเส้นทางใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ยังมีให้เห็นอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ฝั่งธนบุรีหรือพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครต่อเนื่องไปถึงจังหวัดนครปฐม นนทบุรี สมุทรสาคร และปทุมธานี

ถนนหลายเส้นทางอาจจะมีแนวของเส้นทางมานานแล้ว แต่เพิ่งจะเป็นรูปธรรมเมื่อมีการประกาศเวนคืนที่ดิน

เส้นทางของถนนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตที่น่าสนใจ ดังนี้

  1. โครงการต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมจังหวัดนนทบุรี และนครปฐม โดยประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2564 โดยแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 3 อำเภอ 6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 ตำบล และ 28 หมู่บ้าน/ชุมชนของจังหวัดนนทบุรี และนครปฐม ก่อนหน้านี้ พื้นที่ตามแนวเส้นทางเป็นพื้นที่สีเขียวที่ยังไม่มีการพัฒนา และเป็นหมู่บ้านจัดสรรอยู่จำนวนมาก มีหลายโครงการที่จะโดนเสวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้างถนนเส้นทางนี้ เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจรซึ่งมีความยาวถนนประมาณ 12 กิโลเมตร ค่าเวนคืนที่ดินประมาณ 4,392 ล้านบาท โดยจะจ่ายให้ผู้ถูกเวนคืนมีที่ดิน 1,370 แปลง และสิ่งปลูกสร้างอีก 87 หลัง ซึ่งเรื่องของการเวนคืนอาจจะยังไม่ชุดเจน ณ ตอนนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ถนนเส้นทางนี้จะช่วยให้การเดนิทางในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดนนทบุรี และนครปฐมสะดวกมากขึ้น ระยะเวลาในการก่อสร้างหรือกำหนดแล้วเสร็จอาจจะยังตอบไม่ได้ในตอนนี้
  2. โครงการสำรวจออกแบบถนนต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑล สาย 3 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ทล.340) ในจังหวัดปทุมธานี ระยะทางรวมแล้วประมาณ 26 กิโลเมตร เป็นถนนขนาดใหญ่ที่มี 6 ช่องจราจรไป-กลับ และอีก 4 ช่องจราจรคู่ขนาน รวมแล้วมีเขตทางประมาณ 60 เมตร ถนนเส้นทางนี้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอีก 2 จังหวัด คือ จังหวัดนนทบุรี และปทุมธานี เป็นถนนอีก 1 เส้นทางที่จะช่วยลดความหนาแน่นของถนนกาญจนาภิเษก และถนนราชพฤกษ์ได้เมื่อเปิดให้บริการ เพียงแต่ตอนนี้อาจจะยังเป็นเพียงการศึกษาแนวความคิดเท่านั้น ยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม และที่น่าสนใจ คือ การก่อสร้างของถนนเส้นทางนี้อาจจะเกิดขึ้นในเวลาที่ไล่เลี่ยกับวงแหวนรอบที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่การศึกษาแนวทางของการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2566 งบประมาณในการก่อสร้างกว่าแสนล้านบาท ซึ่งถนนวงแหวนรอบที่ 3 นี้กระทบกับพื้นที่มหาศาลและกระทบถนนเส้นทางต่างๆ หลายเส้นทางเลย
  3. โครงการเชื่อมต่อถนนกัลปพฤกษ์ – ถนนพุทธสาคร เป็นถนนอีก 1 เส้นทางที่ยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืน แม้ว่าถนนเส้นทางนี้จะมีข่าวหรือมีการรับรู้กันมานานหลายปีแล้วว่าจะเกิดขึ้น ถนนเสน้ทางนี้จะเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตกกับจังหวัดสมุทรสาครทำให้การเดินทางไปยังถนนพระรามที่ 2 และต่อเนื่องไปถึงภาคใต้มีทางเลือกเพิ่มเติมในอนาคต ช่วยบรรเทาความหนาแน่นของถนนพระรามที่ 2 ได้ ระยะทางรวมประมาณ 13.6 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 7,364 ล้านบาท โดยเป็นค่าก่อสร้างประมาณ 6,014 ล้านบาท และค่าเวนคืนประมาณ 1,350 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่ค่าเวนคืนจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเมื่อยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน จึงมีการก่อสร้างบ้านรวมไปถึงโครงการจัดสรรเกิดขึ้นหลายโครงการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าทางบางผู้ประกอบการเจ้าของโครงการอาจจะมีการกันพื้นที่บางส่วนเพื่อรอความชัดเจนของโครงการ  แต่บางโครงการก็ไม่ได้มีการกันพื้นที่ไว้ เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจรไป-กลับขนาดเดียวกับถนนกัลปพฤกษ์ และเป็นถนนอีก 1 เส้นทางที่มีแนวเส้นทางขนานกับถนนเพชรเกษม อีกทั้งเชื่อมต่อกับถนนอีกหลายเส้นทางแบบเดียวกับถนนเพชรเกษมเลย
  4. โครงการขยายถนนทวีวัฒนา – ซอยเพชรเกษม 69 – ถนนบางบอน 3 เพราะซอยเพชรเกษม 69 มีขนาดเล็ก แต่ความหนาแน่นสูงมากเกือบทั้งวัน เพราะเป็นซอยที่เชื่อมต่อกับถนนบางบอน 3 ถนนเพชรเกษม และสวามารถไปถึงพระรามที่ 2 ได้ ซึ่งพื้นที่ดังกล่างมีความหนานแน่นของโครงการที่อยู่อาศัยจำนวนมาก จึงเกิดโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อบรรเทาความหนาแน่น และทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การเดินทางในพื้นที่สะดวกมากขึ้น พระราชกฤษฏีกาเวนคืนที่ดินประกาศมาแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2561 เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้วแต่ความคืบหน้ายังไม่มากเท่าไหร่ เพราะความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยจำนวนมาก
  5. ถนนเส้นทางเพชรเกษม-สุขสวัสดิ์-วงแหวนด้านใต้ ซึ่งเป็นแนวถนนที่อยู่ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปีพ.ศ.2556 โดยในผังเมืองเรียกว่าถนน “ฉ1” และ “ง21” เป็นถนนอีก 1 เส้นทางที่เพิ่งจะมีการพระราชกฤษฏีกาเวนคืนที่ดินไปเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2566 นี้เอง เป็นถนนที่มีความยาวประมาณ 21.9 กิโลเมตรครอบคุลมหลายเขตของกรุงเทพมหานคร เช่น ภาษีเจริญ จอมทอง บางขุนเทียน ทุ่งครุ และราษฎร์บูรณะ เป็นถนนที่มีช่องจราจร 6 ช่องจราจรไป-กลับ เริ่มตั้งแต่ถนนเพชรเกษมผ่านนชถนนเทดไท กัลปพฤกษ์ ไปเชื่อมต่อกับถนนสุขสวัสดิ์ และวงแหวนกาญนาภิเษกฝั่งใต้ แนวเส้นทางผ่านหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่ง รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ อีกไม่น้อย เพราะเป็น 1 ในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาต่อเนื่อง โครงการบ้านจัดสรรของผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายโดนเวนคืนที่ดิน ซึ่งจริงๆ แล้วถนนเส้นทางนี้อยู่ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครมานานแล้ว และมีมาก่อนที่จะเกิดหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ อีก เพียงแต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เป็นรูปธรรมเท่านั้นมีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะโดนเวนคืน ดังนี้ ที่ดินจำนวน 1,996 แปลง และสิ่งปลูกสร้างอีกกว่า 1,443 รายการ กรอบวงเงินในการเวนคืนประมาณ 12,680ล้านบาท แค่ค่าเวนคืนก็มหาศาลแล้ว ไม่รู้ว่าจะเริ่มก่อสร้างได้เมื่อไหร่ แม้ว่าปัจจุบันเริ่มดำเนินการในเรื่องของการเวนคืนที่ดินไปแล้ว ยังคงต้องติดตามต่อไป ถนนเส้นทางนี้ผ่านจุดอับ จุดที่เข้าถึงได้ยากในฝั่งธนบุรีพื้นที่ใหญ่เลย

Recent Articles

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...