Home บทความ การตัดถนนใหม่มีทั้งประโยชน์และผลกระทบ

การตัดถนนใหม่มีทั้งประโยชน์และผลกระทบ

ถนน 1 ในปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาในทำเลใดทำเลหนึ่ง แม้ว่าปัจจุบันจะมีเรื่องของเส้นทางรถไฟฟ้าที่เข้ามาเป็นตัวแปรที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทำเลมากกว่าแบบชัดเจน

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกทำเลของกรุงเทพมหานครจะมีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน หลายๆ ทำเลที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะอิทธิพลของถนนเส้นทางใหม่

ก่อนหน้านี้หลายปีที่เห็นได้ชัดเจน คือ พื้นที่ 2 ข้างทางของถนนราชพฤกษ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องมาโดยตลอดหลังจากที่ถนนราชพฤกษ์เปิดให้บริการ และเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

เช่นกันกับอีกหลายถนนที่เปิดให้บริการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เช่น ถนนประเสริฐมนูกิจ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และถนนเทพรักษ์

และล่าสุดที่เห็นการเปลี่ยนแปลงได้ชัดเจน คือ เมื่อถนนถนนศรีนครินทร์-ร่มเกล้ามีแนวเส้นทางที่ชัดเจน จนถึงเมื่อมีการก่อสร้าง จะเห็นได้ถึงการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ และยังเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นต่อเนื่องถึงปัจจุบัน

การตัดถนนเส้นทางใหม่ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มเส้นทางเชื่อมต่อ หรือขยายถนนเดิม และต่อขยายไปอีกถนนหนึ่งเพื่อความสะดวกในการเดินทางและลดความแออัดของถนนบางเส้นทาง

ซึ่งแตกต่างจากการตัดถนนในอดีตที่อาจจะเน้นไปที่การเดินทางจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง

การตัดถนนเป็นการเปิดหน้าดินหรือเป็นการเปิดพื้นที่ตลอดทั้ง 2 ฝั่งให้สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการทำให้พื้นที่ทั้ง 2 ฝั่งถนนได้รับความสนใจมากขึ้น พื้นที่ทั้ง 2

ฝั่งของถนนหลายๆ เส้นทางจึงเปลี่ยนแปลงแบบรวดเร็วมาก มีโครงการที่อยู่อาศัยเกิดขึ้นมากมายในเวลาไม่นาน บางถนนยังไม่ทันเปิดให้บริการแบบเป็นทางการ ก็มีผู้ประกอบการขึ้นป้ายประกาศความเป็นเจ้าของเกือบเต็ม 2 ฝั่งถนนแล้ว

เรื่องของถนนเส้นทางใหม่ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ยังมีให้เห็นอยู่ โดยเฉพาะในพื้นที่ฝั่งธนบุรีหรือพื้นที่ฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครต่อเนื่องไปถึงจังหวัดนครปฐม นนทบุรี สมุทรสาคร และปทุมธานี

ถนนหลายเส้นทางอาจจะมีแนวของเส้นทางมานานแล้ว แต่เพิ่งจะเป็นรูปธรรมเมื่อมีการประกาศเวนคืนที่ดิน

เส้นทางของถนนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตที่น่าสนใจ ดังนี้

  1. โครงการต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา ซึ่งเป็นถนนที่เชื่อมจังหวัดนนทบุรี และนครปฐม โดยประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2564 โดยแนวเส้นทางผ่านพื้นที่ 3 อำเภอ 6 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 7 ตำบล และ 28 หมู่บ้าน/ชุมชนของจังหวัดนนทบุรี และนครปฐม ก่อนหน้านี้ พื้นที่ตามแนวเส้นทางเป็นพื้นที่สีเขียวที่ยังไม่มีการพัฒนา และเป็นหมู่บ้านจัดสรรอยู่จำนวนมาก มีหลายโครงการที่จะโดนเสวนคืนที่ดินเพื่อการก่อสร้างถนนเส้นทางนี้ เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจรซึ่งมีความยาวถนนประมาณ 12 กิโลเมตร ค่าเวนคืนที่ดินประมาณ 4,392 ล้านบาท โดยจะจ่ายให้ผู้ถูกเวนคืนมีที่ดิน 1,370 แปลง และสิ่งปลูกสร้างอีก 87 หลัง ซึ่งเรื่องของการเวนคืนอาจจะยังไม่ชุดเจน ณ ตอนนี้ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด ถนนเส้นทางนี้จะช่วยให้การเดนิทางในพื้นที่ตอนเหนือของจังหวัดนนทบุรี และนครปฐมสะดวกมากขึ้น ระยะเวลาในการก่อสร้างหรือกำหนดแล้วเสร็จอาจจะยังตอบไม่ได้ในตอนนี้
  2. โครงการสำรวจออกแบบถนนต่อเชื่อมถนนพุทธมณฑล สาย 3 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 (ทล.340) ในจังหวัดปทุมธานี ระยะทางรวมแล้วประมาณ 26 กิโลเมตร เป็นถนนขนาดใหญ่ที่มี 6 ช่องจราจรไป-กลับ และอีก 4 ช่องจราจรคู่ขนาน รวมแล้วมีเขตทางประมาณ 60 เมตร ถนนเส้นทางนี้ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และอีก 2 จังหวัด คือ จังหวัดนนทบุรี และปทุมธานี เป็นถนนอีก 1 เส้นทางที่จะช่วยลดความหนาแน่นของถนนกาญจนาภิเษก และถนนราชพฤกษ์ได้เมื่อเปิดให้บริการ เพียงแต่ตอนนี้อาจจะยังเป็นเพียงการศึกษาแนวความคิดเท่านั้น ยังไม่มีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม และที่น่าสนใจ คือ การก่อสร้างของถนนเส้นทางนี้อาจจะเกิดขึ้นในเวลาที่ไล่เลี่ยกับวงแหวนรอบที่ 3 ของกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่การศึกษาแนวทางของการก่อสร้างจะแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2566 งบประมาณในการก่อสร้างกว่าแสนล้านบาท ซึ่งถนนวงแหวนรอบที่ 3 นี้กระทบกับพื้นที่มหาศาลและกระทบถนนเส้นทางต่างๆ หลายเส้นทางเลย
  3. โครงการเชื่อมต่อถนนกัลปพฤกษ์ – ถนนพุทธสาคร เป็นถนนอีก 1 เส้นทางที่ยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืน แม้ว่าถนนเส้นทางนี้จะมีข่าวหรือมีการรับรู้กันมานานหลายปีแล้วว่าจะเกิดขึ้น ถนนเสน้ทางนี้จะเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครฝั่งตะวันตกกับจังหวัดสมุทรสาครทำให้การเดินทางไปยังถนนพระรามที่ 2 และต่อเนื่องไปถึงภาคใต้มีทางเลือกเพิ่มเติมในอนาคต ช่วยบรรเทาความหนาแน่นของถนนพระรามที่ 2 ได้ ระยะทางรวมประมาณ 13.6 กิโลเมตร คาดว่าจะใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 7,364 ล้านบาท โดยเป็นค่าก่อสร้างประมาณ 6,014 ล้านบาท และค่าเวนคืนประมาณ 1,350 ล้านบาท และมีแนวโน้มที่ค่าเวนคืนจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเมื่อยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน จึงมีการก่อสร้างบ้านรวมไปถึงโครงการจัดสรรเกิดขึ้นหลายโครงการในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แม้ว่าทางบางผู้ประกอบการเจ้าของโครงการอาจจะมีการกันพื้นที่บางส่วนเพื่อรอความชัดเจนของโครงการ  แต่บางโครงการก็ไม่ได้มีการกันพื้นที่ไว้ เป็นถนนขนาด 6 ช่องจราจรไป-กลับขนาดเดียวกับถนนกัลปพฤกษ์ และเป็นถนนอีก 1 เส้นทางที่มีแนวเส้นทางขนานกับถนนเพชรเกษม อีกทั้งเชื่อมต่อกับถนนอีกหลายเส้นทางแบบเดียวกับถนนเพชรเกษมเลย
  4. โครงการขยายถนนทวีวัฒนา – ซอยเพชรเกษม 69 – ถนนบางบอน 3 เพราะซอยเพชรเกษม 69 มีขนาดเล็ก แต่ความหนาแน่นสูงมากเกือบทั้งวัน เพราะเป็นซอยที่เชื่อมต่อกับถนนบางบอน 3 ถนนเพชรเกษม และสวามารถไปถึงพระรามที่ 2 ได้ ซึ่งพื้นที่ดังกล่างมีความหนานแน่นของโครงการที่อยู่อาศัยจำนวนมาก จึงเกิดโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อบรรเทาความหนาแน่น และทำให้การจราจรคล่องตัวขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้การเดินทางในพื้นที่สะดวกมากขึ้น พระราชกฤษฏีกาเวนคืนที่ดินประกาศมาแล้วตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2561 เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้วแต่ความคืบหน้ายังไม่มากเท่าไหร่ เพราะความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยจำนวนมาก
  5. ถนนเส้นทางเพชรเกษม-สุขสวัสดิ์-วงแหวนด้านใต้ ซึ่งเป็นแนวถนนที่อยู่ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ฉบับปีพ.ศ.2556 โดยในผังเมืองเรียกว่าถนน “ฉ1” และ “ง21” เป็นถนนอีก 1 เส้นทางที่เพิ่งจะมีการพระราชกฤษฏีกาเวนคืนที่ดินไปเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2566 นี้เอง เป็นถนนที่มีความยาวประมาณ 21.9 กิโลเมตรครอบคุลมหลายเขตของกรุงเทพมหานคร เช่น ภาษีเจริญ จอมทอง บางขุนเทียน ทุ่งครุ และราษฎร์บูรณะ เป็นถนนที่มีช่องจราจร 6 ช่องจราจรไป-กลับ เริ่มตั้งแต่ถนนเพชรเกษมผ่านนชถนนเทดไท กัลปพฤกษ์ ไปเชื่อมต่อกับถนนสุขสวัสดิ์ และวงแหวนกาญนาภิเษกฝั่งใต้ แนวเส้นทางผ่านหมู่บ้านจัดสรรหลายแห่ง รวมไปถึงอสังหาริมทรัพย์ประเภทต่างๆ อีกไม่น้อย เพราะเป็น 1 ในพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงมาต่อเนื่อง โครงการบ้านจัดสรรของผู้ประกอบการรายใหญ่บางรายโดนเวนคืนที่ดิน ซึ่งจริงๆ แล้วถนนเส้นทางนี้อยู่ในผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครมานานแล้ว และมีมาก่อนที่จะเกิดหมู่บ้านจัดสรรต่างๆ อีก เพียงแต่ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ เป็นรูปธรรมเท่านั้นมีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะโดนเวนคืน ดังนี้ ที่ดินจำนวน 1,996 แปลง และสิ่งปลูกสร้างอีกกว่า 1,443 รายการ กรอบวงเงินในการเวนคืนประมาณ 12,680ล้านบาท แค่ค่าเวนคืนก็มหาศาลแล้ว ไม่รู้ว่าจะเริ่มก่อสร้างได้เมื่อไหร่ แม้ว่าปัจจุบันเริ่มดำเนินการในเรื่องของการเวนคืนที่ดินไปแล้ว ยังคงต้องติดตามต่อไป ถนนเส้นทางนี้ผ่านจุดอับ จุดที่เข้าถึงได้ยากในฝั่งธนบุรีพื้นที่ใหญ่เลย