Home บทความ จำนวนบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่

จำนวนบัญชีสินเชื่อที่อยู่อาศัยปล่อยใหม่

ช่วงนี้คงได้เห็นข่าวกันแล้วว่ามาตรการลดค่าโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองที่อยู่อาศัยที่จะหมดอายุในสิ้นปีนี้คงไม่ต่ออายุต่อไป

ซึ่งหลายๆ ฝ่ายคาดว่าจะมีผลต่อการซื้อขายที่อยู่อาศัย

โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่เกิน 3 ล้านบาทที่อยู่ในข้อจำกัดของมาตรการ

รวมไปถึงมาตรการผ่อยคลายเกณฑ์ LTV ของธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่จะหมดอายุสิ้นปีพ.ศ.2565 เช่นกัน และไม่ต่ออายุมาตรการเหมือนกันอีก

ทั้ง 2 มาตรการที่กำลังจะหมดอายุลงไป คงมีส่วนช่วยให้เกิดการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ทั้งในฝั่งของผู้ประกอบการ และผู้ซื้อ

แต่ปัญหาหลักๆ ของการซื้อขายที่อยู่อาศัย คือ เรื่องของการขอสินเชื่อธนาคาร

เพราะการพิจารณาสินเชื่อธนาคารค่อนข้างเข้มงวด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว และคนมีปัญหาในเรื่องของรายได้ที่ลดลง หรือรายได้หายไปเลย

ช่วงปีพ.ศ.2556 – 2557 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ยอดการปล่อยสินเชื่อเริ่มลดลง

จากนั้นก็ลดลงต่อเนื่องถึงปีพ.ศ.2560 แล้วกลับมาฟื้นตัวปีพ.ศ.2561

แล้วมีมาตรการ LTV แบบเต็มรูปแบบในปีพ.ศ.2563 ช่วงก่อนหน้านั้นเป็นช่วงที่ธนาคาร และผู้ซื้อเร่มปรับตัว

ซึ่งภายหลังการประกาศใช้มาตรการ LTV ช่วงไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2563 จำนวนสินเชื่อปล่อยใหม่เริ่มเพิ่มขึ้น แม้ในภาวะโควิด-19

แต่มาลดลงช่วงปีพ.ศ.2564 เป็นต้นมา เพราะคนจำนวนหนึ่งเจอผลกระทบจากโควิด-19 มาตั้งแต่พ.ศ.2563

ส่งผลให้การซื้อที่อยู่อาศัยเป็นเรื่องที่ไม่เร่งด่วนในสถานการณ์แบบนั้น แต่ช่วงไตรมาสที่ 2 ปีพ.ศ.2565 เริ่มเห็นสัญญานการฟื้นตัว

ซึ่งอย่างไรก็ตามคงต้องรอดูสถานการณ์ต่อไปในไตรมาสที่ 3 – 4 ของปีนี้

แต่ถ้าคนที่ต้องการซื้อที่อยุ่อาศัยและต้องการได้รับสิทธิประโยชน์จากมาตรการต่างๆ ก็ต้องให้จบการโอนกรรมสิทธิ์ภายในปีนี้ ก่อนที่มาตรการจะหมดอายุ