30.9 C
Bangkok
Sunday, September 8, 2024

พื้นที่ค้าปลีกในกรุงเทพมหานคร ครึ่งแรก 2566

พื้นที่ค้าปลีกประมาณ 45,950 ตารางเมตรเปิดให้บริการใหม่ในช่วงครึ่งแรกของปีพ.ศ.2566

โดยกว่า 44% เป็นพื้นที่ของคอมมูนิตี้มอลล์ และอีกประมาณ 37% เป็นศูนย์การค้า ที่เหลือเป็นพื้นที่ค้าปลีกในอาคารสำนักงาน โดยที่ประมาณ 56% ของพื้นที่ค้าปลีกที่เปิดให้บริการใหม่เป็นพื้นที่ค้าปลีกที่อยู่ในพื้นที่ใจกลางเมือง

พื้นที่ค้าปลีกสะสมในกรุงเทพมหานคร ณ ครึ่งแรกปีพ.ศ.2566 อยู่ที่ประมาณ 6.75 ล้านตารางเมตร โดยในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ตลาดพื้นที่ค้าปลีกมีโครงการใหม่ๆ เกิดขึ้นน้อยมาก เมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้

เพราะปัจจัยลบที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าพื้นที่ในโครงการพื้นที่ค้าปลีกมีเยอะเกินไป อีกทั้งรูปแบบการซื้อ-ขายสินค้าของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

รูปแบบของการซื้อ-สินค้าออนไลน์เข้ามาแทนที่ในสินค้าหลายประเภท ความถี่ และวัตถุประสงค์ในการเข้าโครงการพื้นที่ค้าปลีกจึงเปลี่ยนแปลงไป

ศูนย์การค้าขนาดใหญ่หรือคอมมูนิตี้มอลล์บางโครงการจึงจำเป็นต้องมีกิจกรรมในพื้นที่ส่วนกลางต่อเนื่องเพื่อสร้างความน่าสนใจ

พื้นที่ค้าปลีกในสถานีบริการน้ำมันกลายเป็นอีก 1 พื้นที่ที่มีการแข่งขันสูง โดยเฉพาะสถานีบริการน้ำมันที่อยู่ตามถนนเส้นทางหลักของกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล

ก่อนหน้านี้อาจจะมีเพียงร้านสะดวกซื้อที่เป็นผู้ช่าหลัก แต่สถานีบริการน้ำมันที่เปิดให้บริการในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และที่กำลังจะเปิดบริการในอนาคตล้วนมีพื้นที่เช่ามากขึ้นชัดเจนเมื่อเทียบกับในอดีต

และกลายเป็น 1 ในพื้นที่ที่สามารถเข้ามาซื้อของ ทานอาหาร ซื้อเครื่องดื่ม หรือบริการต่างๆ ได้มากกว่าการเติมน้ำมันเท่านั้น

แม้ว่าศูนย์การค้าจะมีสัดส่วนของพื้นที่รวมมากที่สุดในตลาดพื้นที่ค้าปลีกของกรุงเทพมหานคร แต่ศูนย์การค้าส่วนใหญ่ โดยเฉพาะที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่ๆ อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอก

เช่นเดียวกันกับโครงการค้าปลีกประเภทอื่นๆ ที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอก

มีเพียงพื้นที่ค้าปลีกสนับสนุนซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ใจกลางเมือง แต่ก็มีบ้างที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอก

คอมมูนิตี้มอลล์ และไฮเปอร์มาร์เก็ต รวมไปถึงสเปเชี่ยลตี้ สโตร์ที่ขายสินค้าเฉพาะทางส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครรอบนอก

โดยสำหรับคอมมูนิตี้มอลล์นั้น เจ้าของโครงการต้องการพัฒนาคอมมูนิตี้มอลล์เพื่อรองรับความต้องการของคนในพื้นที่ที่ไม่ต้องการเดินทางไกลเข้าพื้นที่เมืองชั้นใน หรือพื้นที่รอบใจกลางเมือง

ส่วนไฮเปอร์มาร์เก็ต และสเปเชี่ยลตี้ สโตร์นั้นเป็นรูปแบบโครงการที่ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ โครงการส่วนใหญ่จึงอยู่นอกพื้นที่ใจกลางเมือง

ห้างสรรพสินค้าเป้นรูปแบบของโครงการพื้นที่ค้าปลีกที่ไม่มีโครงการใหม่มานานแล้ว

เช่นเดียวกับเอนเตอร์เทนเม้นท์ คอมเพล็กซ์ หรือโครงการพื้นที่ค้าปลีกที่มีโรงภาพยนตร์ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของโครงการ ซึ่งไม่มีโครงการใหม่มานานมากแล้ว

โครงการเดิม โครงการเก่าก็เหมือนไม่ค่อยได้รับความนิยมเหมือนในอดีต เพราะรูปแบบการเข้าโรงภาพยนตร์ของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป

ทางเลือกมีเยอะมาก และการไปศูนย์การค้าก็ยังเป็นคำตอบที่สามารถทดแทนได้มากกว่าชัดเจน

ศูนย์การค้าน่าจะเป็นรูปแบบของโครงการพื้นที่ค้าปลีกที่มีมายาวนาน และปัจจุบันยังมีโครงการเปิดบริการใหม่ต่อเนื่อง

หรือมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาโดยตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ศูนย์การค้าเก่าๆ ที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2540 หลายแห่ง มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือผังพื้นที่ภายในโครงการ และร้านค้าหรือผุ้เช่ากันมาหลายรอบแล้ว ทั้งการปรับปรุงบางส่วน บางชั้น หรือการปิดทั้งโครงการเพื่อปรับปรุงใหม่หมด

ตอนนี้ก็มีเดอะมอลล์ สาขาบางแค และบางกะปิที่กำลังปรับปรุงใหม่เป็นดอะมอลล์ไลฟ์สโตร์

ก่อนหน้านี้ ก็มีการทยอยปิดปรับปรุงไปแล้ว เช่น สาขาท่าพระ และสาขางามวงศ์วาน

ส่วนสาขารามคำแหงรื้อถอนทั้งอาคารเพื่อก่อสร้างใหม่เลย เพราะเป็นสาขาที่เปิดบริการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2526 โดยโครงการใหม่ที่กำลังก่อสร้างจะมีรูปแบบทันสมัย และพัฒนาตามศักยภาพสูงสุดของที่ดินปัจจุบัน

กลุ่มเดอะมอลล์มีการร่วมทุนกับทางสยามพิวรรธณ์เพื่อพัฒนาโครงการสยามพารากอนที่เปิดบริการปีพ.ศ.2548

กลุ่มเดอะมอลล์ยังมีโครงการใหม่ต่อเนื่องทั้งเอ็มโพเรียม เอ็ม ควอเทียร์ และเอ็มสเฟียร์ รวมไปถึงแบงค็อกมอลล์ด้วย

ศูนย์การค้าอื่นๆ ของเซ็นทรัลก็มีการปรับปรุงต่อเนื่องทั้งเซ็นทรัลลาดพร้าวที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2524 และเซ็นทรัลเวิลด์ที่มาเป็นของเซ็นทรัลในปีพ.ศ.2545 (ไม่แน่ใจเรื่องปี)

ก่อนที่เซ็นทรัลจะเปิดโครงการใหญ่อย่างเซ็นทรัลเวสต์เกท และเซ็นทรัลอีสต์วิลล์ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ของศูนย์การค้าในกลุ่มเซ็นทรัล รวมไปถึงเซ็นทรัล เอ็มบาสซี่ซึ่งเป็นศูนย์การค้าระดับหรูหราของเซ็นทรัล

จากนั้นปีนี้น่าจะมีเซ็นทรัลเวสต์วิลล์อีกแห่ง และมีการเข้าเทกโอเวอร์สยามฟิวเจอร์จนกลายเป็นเจ้าของเมกาบางนา

ซีคอน สแควร์ ศรีนครินทร์ ของบมจ.ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ก็มีการเปลี่ยนแปลงมาตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

และยืนหยัดผ่านหลายช่วงเวลามาได้ ในขณะที่ศูนย์การค้าอื่นๆ ในทำเลใกล้เคียงยังมีผลงานที่ด้อยกว่า และเข้าซื้อฟิวเจอร์ฯ บางแค จากนั้นปรับปรุงเป็นซีคอน บางแคซึ่งเปิดบริการใหม่ปีพ.ศ.2555

รายใหม่ในตลาดศูนย์การค้าก็เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ และแมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น ที่รุกหนักกับโครงการไอคอนสยามที่ร่วมทุนกับทางสยามพิวรรธน์ โดยทางแมกโนเลียฯ ยังมี 101 ทรูดิจิทัล พาร์คที่มีศูนย์การค้าด้วย

อีกรายที่มาก่อนไอคอนสยาม คือ เทอร์มินัล 21 ของแลนด์แอนด์เฮ้าสที่มี 2 สาขาในกรุงเทพมาหนครแล้ว

การแข่งขันน่าจะลดความร้อนแรงลงแล้ว โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ค่อนข้างมีศูนย์การค้าครอบคลุมหมดแล้ว

Recent Articles

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...