Home กฎหมาย ข้อจำกัดในการพัฒนาอาคารสูงของถนนจรัญสนิทวงศ์

ข้อจำกัดในการพัฒนาอาคารสูงของถนนจรัญสนิทวงศ์

ทำให้สร้างอาคารสูงไม่ได้มากแบบที่ควรจะเป็น

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อการก่อสร้างอาคารหรือการดัดแปลง

รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์อาคารมีหลายฉบับมากเลย

แต่ส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่รอบๆ พื้นที่อนุรักษ์ โบราณสถาน วัดสำคัญ สวนสาธารณะ วงเวียนขนาดใหญ่ พื้นที่ป้องกันน้ำท่วม กับพื้นที่ชุมชนหนาแน่นบางแห่ง กับพื้นที่ริมถนนที่เพิ่งมีการก่อสร้างใหม่ๆ บางเส้นทาง

เพื่อควบคุมความสูงไม่ให้บดบังสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถาน หรือทำให้พื้นที่อนุรักษ์ดูแปลกๆ ถ้ามีอาคารสูงเกิดขึ้น

อีกหนึ่งพื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ที่ได้รับผลกระทบจากข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร คือ

พื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงศ์ตั้งแต่ พื้นที่ทางทิศใต้ของถนนพรานนกลงมาตามถนนจรัญสนิทวงศ์ถึงสี่แยกท่าพระ ต่อเนื่องไปตามถนนเพชรเกษม อินทรพิทักษ์ถึงวงเวียนใหญ่เลยซึ่งมีข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครอีกฉบับควบคุมความสูง

พื้นที่ที่กล่าวไปแล้วนี้อยู่ในพื้นที่บริเวณที่ 4 ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลงอาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในท้องที่แขวงบางขุนศรี แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย แขวงวัดอรุณ แขวงท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ และแขวงวัดกัลยาณ์ แขวงวัดหิรัญรูจี แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2539

ครอบคลุมพื้นที่ในหลายแขวง หลายเขต หลักๆ ก็เป็นพื้นที่รอบๆ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นข้อบัญญัติที่ประกาศใช้วันที่ 23 เมษายน พ.ศ.2539

โดยพื้นที่บริเวณที่ 4 มีข้อกำหนดในข้อบัญญัตินี้ คือ ห้ามก่อสร้างอาคารที่มีความสูงเกิน 70 เมตร

ดังนั้น หลายโครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่บริเวณที่ 4 ตามแนวถนนจรัญสนิทวงส์

จึงมีความสูงของอาคารอยู่ที่ประมาณ 2 ชั้น ถ้าเป็นพื้นที่บริเวณที่ 3 จะห้ามสูงเกิน 40 เมตร  บริเวณที่ 2 ห้ามเกิน 24 เมตรและบริเวณที่ 1 ห้ามเกิน 16 เมตร

และเช่นเคยคือ ข้อบัญญัตินี้มีการเรียกร้องจากผู้ประกอบการมากพอสมควรให้ปลดล็อคพื้นที่ตามแนวถนนจรัญสนิทวงส์ เพราะมีเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินแล้ว