เซ็นทรัลพัฒนาได้สิทธิ์พัฒนาที่ดินขนาด 7 ไร่ 31 ตารางวาหัวมุมแยกปทุมวัน

เซ็นทรัลยึดครองเพิ่มอีก 1 แยกของกรุงเทพมหานครได้แล้ว

31

พื้นที่ยอดนิยมและเป็นพื้นที่ที่ถือได้ว่าเป็น 1 ในย่าน Prime Area ของกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่งคือ

พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าสยาม ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ฝั่งไหนก็ตามล้วนมีศักยภาพสูง

และสามารถที่จะพัฒนาเป็นโครงการพาณิชยกรรมใดๆ ก็ตามได้เป็นอย่างดี

ซึ่งเจ้าของที่ดินรายใหญ่ในพื้นที่นี้ คือ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

และรู้กันมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วแล้วว่าจะมีการประมูลที่ดินบล็อก A หรือพื้นที่ตรงหัวมุมแยกปทุมวัน

สี่แยกที่มีเอ็มบีเคเซ็นเตอร์ สยามดิสคฟเวอรี่ และหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

พื้นที่ตรงนั้นขนาดประมาณ 7 ไร่ 31 ตารางวา รวมทั้งอาคารที่เคยเป็นโรงภายนตร์สกาลาด้วย

ล่าสุดทางสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประกาศผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาทีดินแปลงนี้แล้ว คือ บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) โดยได้รับสิทธิ์ในการพัฒนา 30 ปี

โดยมีข้อกำหนดและข้อจำกัดค่อนข้างมาก เช่น

เซ็นทรัลต้องเว้นระยะจากขอบที่ดินเข้ามา 2 ด้าน คือด้านถนนสยามสแควร์ซอย 7 ระยะ6 เมตร และสยามสแควร์ซอย 1 ระยะ 9 เมตร ดังนั้น เหลือที่ดินให้พัฒนาเพียง 5 ไร่ 3 งาน 89 ตารางวาเท่านั้นไม่ใช่ 7 ไร่ 31 ตารางวาแล้ว

แม้ว่าที่ดินที่เว้นระยะนั้นจะยังสามารถนำมาใช้คำนวณในการพัฒนาโครงการได้ก็ตาม

เซ็นทรัลต้อสร้างทางเชื่อมจากบล็อก A ไปยังบล็อก B ที่ปัจจุบันคืออาคารสยามสเคปด้วย โดยเซ็นทรัลต้องออกค่าใช้จ่ายเองทั้งหมด

และข้อกำหนดถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่แปลงนี้ไว้ในเอกสารฉบับร่างเพื่อรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ว่า ต้องสร้างพื้นที่เป็น Landmark ในเชิงสถาปัตยกรรมและแนวคิดการออกแบบที่กลมกลืน สอดคล้องกับพื้นที่แนวราบ และอัตลักษณ์ของสยามสแควร์ ตามแนวคิดการเป็น Street Shopping ส่งเสริมและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการและพื้นที่โดยรอบ

ซึ่งจากข้อกำหนดนี้ยังไม่รู้ว่าเซ็นทรัลจะทำโครงการออกมาในรูปแบบใด แต่คาดว่าคงใช้ทีมงานหรือคนจากสยามฟิวเจอร์ฯ ที่เพิ่งเทกโอเวอร์มาช่วยก็เป็นไปได้

เรื่องของค่าเช่านั้นก็มีรายละเอียดระบุในเอกสารฉบับร่างเพื่อรับฟังความคิดเห็น ครั้งที่ 1 ว่า ค่าตอบแทนการทำสัญญาหรือที่เรียกกันว่า Up Front อยู่ที่ 742,000,000 บาท

ค่าตอบแทนรายปีรวม 30 ปีที่ทางเซ็นทรัลต้องจ่ายให้กับทางสำนักงานจัดการทรัพย์สินอยู่ที่ประมาณ  5,160 ล้านบาท

ซึ่งแค่ 2 รายจ่ายนี้ก็ 5,902 ล้านบาทแล้วยังไม่รวมค่าปรับปรุงและก่อสร้างอาคารใหม่

อีกทั้งยังมีค่าส่วนแบ่งรายได้ทุกๆ 5 ปีถ้ามีรายได้เกินจากที่ประมาณการณ์ไว้อีกร้อยละ 5

ซึ่งเชื่อว่าเซ็นทรัลคงมั่นใจในศักยภาพของที่ดิน และทีมงานในการพัฒนาโครงการรวมไปถึงมั่นใจการสร้างรายได้ของตนเอง แต่สิ่งที่คนคาดหวังคือรูปแบบโครงการที่ขอให้ออกมาสวยงามสมกับทำเล และที่มีข่าวออกมาว่าจะเก็บโครงสร้างและสถาปัตยกรรมของโรงภาพยนตร์สกาล่าไว้นั้นจะเป็นยังไงอีกด้วย