31.9 C
Bangkok
Sunday, September 8, 2024

กรุงเทพมหานครจ้องที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแบบปลอมๆ

เมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา มีการประชุมของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน

โดยหัวข้อในการประชุม คือ การพิจารณากรณีกรุงเทพมหานคร (กทม.) จะปรับเพิ่มอัตราการจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ประเภทที่ดินเกษตรกรรมแยกย่อยตามโซนผังเมืองรวม

โดยเน้นไปที่ผังเมืองในโซนสีต่อไปนี้ โซนสีแดงที่ดินประเภทพาณิชยกรรม โซนสีน้ำตาลที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก โซนสีม่วงที่ดินประเภทอุตสาหกรรม และโซนสีเม็ดมะปรางที่ดินประเภทคลังสินค้า

ถ้าเจ้าของที่ดินในพื้นที่โซนผังเมืองสีที่กล่าวไปแล้วมีการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์เป็นการเกษตรกรรม เช่น การปลูกล้วย มะม่วง มะนาว หรือต้นไม่ชนิดอื่น รวมไปถึงการเลี้ยงสัตว์

เพราะไม่ต้องการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราของที่ดินรกร้างว่างเปล่า และเสียภาษีที่ดินฯ ในอัตราที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม

ซึ่งทางกรุงเทพมหานครมองว่าเป็นการใช้ประโยชน์บนที่ดินที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพ และต้องการเก็บภาษีที่ดินฯ ในอัตราสูงสุดแบบเต็มเพดานของที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม คือ 0.15% หรือเพิ่มขึ้น 15 เท่าจากอัตราเดิมที่ 0.01 – 0.1% (ตามมูลค่าที่ดิน)

โดยผลของการพิจารณาออกมาแล้วว่า ในเบื้องต้นไม่สามารถดำเนินการตามที่กรุงเทพมหานครต้องการได้

เนื่องจากคณะกรรมการฯ มองว่าเป็นการเก็บภาษีประเภทใหม่ ซึ่งอาจจะขัดกับ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่ประกาศและบังคับใช้ไปแล้ว 

และอาจจะเกิดความลักลั่นของการบังคับใช้กฎหมายได้

อย่างไรก็ตามหากทางกรุงเทพมหานครยังต้องการจะเดินหน้าเรื่องนี้ต่อไป ก็ต้องส่งเรื่องนี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา เพื่อให้ตีความว่าสามารถทำได้หรือไม่

หรือกรุงเทพมหานครจะปรับอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินเพื่อการเกษตรกรรมในกรุงเทพมหานครให้เพิ่มแบบเป็นขั้นบันไดก็ได้ เพราะกฎหมายเปิดช่องให้กรุงเทพมหานครหรือหน่วยงานท้องถิ่นที่มีอำนาจในการจัดเก็บภาษีที่ดินฯ สามารถทำได้อยู่แล้ว เช่น ปัจจุบันเก็บในอัตรา 0.01-0.1% อาจจะปรับเป็น 0.02-0.15% เป็นต้น

ซึ่งดูแล้วทางกรุงเทพมหานครคงยังไม่จบง่ายๆ แน่นอน ยังต้องติดตามต่อไป

Recent Articles

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...