Home บทความ กำลังซื้อชะลอตัว ผู้ประกอบการเปิดขายโครงการใหม่ลดลง

กำลังซื้อชะลอตัว ผู้ประกอบการเปิดขายโครงการใหม่ลดลง

กำลังซื้อหรือความต้องการบ้านในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาอาจจะยังมีอยู่ เพียงแต่การซื้อขายที่เกิดขึ้นจริงๆ ลดลง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นๆ

โดยเฉพาะเรื่องของการขอสินเชื่อธนาคารที่ทำได้ยากมากขึ้น ซึ่งทั้งกลุ่มของผู้ซื้อที่สถาบันการเงินปฏิเสธสินเชื่อ และกลุ่มของผู้ที่ขอสินเชื่อแล้วสถาบันการเงินให้สินเชื่อไม่เต็มจำนวนของมูลค่าบ้านหรือคอนโดมิเนียม

แม้ว่า กลุ่มเหล่านี้จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่จะโดนลดวงเงินสินเชื่อตามเกณฑ์ของ LTV ซึ่งเมื่อการขอสินเชื่อธนาคารทำได้ยากย่อมมีผลต่อเนื่องมาถึงการโอนกรรมสิทธิ์บ้านและคอนโดมิเนียมแน่นอน

นอกจากนี้ยังมีผลต่อเนื่องไปถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ

โดยพิจารณาได้จากการที่มีจำนวนบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ลดลงค่อนข้างมาก คอนโดมิเนียมลดลงกว่า 9.5% บ้านจัดสรรลดลงประมาณ 17.2%

บ้านและคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปีพ.ศ.2566 ลดลงแบบชัดเจน

แต่ที่น่าสนใจคือ เรื่องของมูลค่าของบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ ที่บอกว่าน่าสนใจเพราะว่ามูลค่าของบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่กลับมีมูลค่ามากขึ้น

โดยคอนโดมิเนียมมีมูลค่ามากขึ้น 10.9% บ้านจัดสรรมีมูลค่ามากขึ้น 14.2%

ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้ คือ การที่มีโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมราคาแพงเปิดขายใหม่มากขึ้น

ซึ่งจากสถานการณ์ในปัจจุบันคงต้องรออีกระยะน่าจะถึงปีหน้าจึงจะเห็นได้ชัดเจนว่าการชะลอของตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในฝั่งของอุปสงค์จะเริ่มดีขึ้นเมื่อไหร่

การชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัยสามารถเห็นได้ชัดเจนจากผลประกอบการของผู้ประกอบการในตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขาย

โดย 9 เดือนที่ผ่านมา ผลประกอบการของกลุ่มผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขายเป็นตัวบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีว่าตลาดที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วงชะลอตัว

โดยผลประกอบการรวม 9 เดือนที่ผ่านมาในปีพ.ศ.2566 ของ 39 บริษัทผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขายในตลาดหลักทรัพย์มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นประมาณ 1.37%

ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ก็ได้ไม่ได้ลดลง แต่ถ้าพิจารณาในด้านของกำไรที่ยังลดลงประมาณ 6.37%  

อาจจะมีเพียงช่วงไตรมาสที่ 3 ที่ผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ลดลงทั้งในฝั่งของรายได้และกำไร

โดยรายได้รวมของทั้ง 39 บริษัท ณ ไตรมาสที่ 3 2566 ลดลง 2.9% ในส่วนของกำไรลดลงถึง 20% ซึ่งผลประกอบการในไตรมาสที่ 3

สะท้อนให้เห็นว่าการที่ผู้ประกอบการมีรายได้ลดลงไม่มาก อาจจะเป็นเพราะว่าช่วงไตรมาสที่ 3

พวกเขาพยายามสร้างรายได้โดยเฉพาะจากการโอนกรรมสิทธิ์โครงการที่สร้างเสร็จแล้ว

และมีการจัดโปรโมชั่นในเรื่องของราคาออกมาสร้างความน่าสนใจ ยอมลดกำไรลงบ้าง

และมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องไปถึงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้เลย