Home บทความ ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับตลาดอสังหาฯ ต่อรัฐบาลใหม่

ข้อเรียกร้องเกี่ยวกับตลาดอสังหาฯ ต่อรัฐบาลใหม่

ประเทศไทยได้นายกรัฐมนตรีคนที่ 30 แล้ว เป็นนายกรัฐมนตรีนักธุรกิจ และเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ด้วย

ดังนั้น จึงไม่แปลกใจที่เข้ารับตำแหน่งแบบเป็นทางการไม่นาน

จะมีข่าวออกมาว่ามีภาคเอกชนทั้งในนามของนายกสมาคมด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ และผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายรายออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือตามสื่อต่างๆ เพื่อขอให้มีมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์

โดยหลักๆ ที่เห็นออกข่าวตามสื่อในโซเชี่ยลต่างๆ เป็นเรื่องของมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อคนไทย เช่น

  1. การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้ ผ่านระบบสินเชื่อของธนาคารในการณีที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย
  2. มาตรการสนับสนุนการซื้อบ้านหลังแรก ด้วยการลดภาษี และดอกเบี้ยต่ำคงที่ในช่วง 3 ปีแรก
  3. ควบคุมราคาที่ดินไม่ให้เพิ่มขึ้นสูงเกินไป เพระมีผลให้ราคาบ้านและคอนโดมิเนียมแพงขึ้น
  4. การกระตุ้นกำลังซื้อจากชาวต่างชาติ จากเดิมที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับ 4 กลุ่มหลักที่อยู่อาศัยระยะยาวในไทย พร้อมให้วีซ่าระยะยาว 10 ปี ให้สิทธิถือครองที่ดินได้ อยากให้ลดลงมาเหลือ 3-5 ปีก่อน โดยแบ่งตามการซื้อคอนโดมิเนียมด้วย เช่น ซื้อคอนโดฯราคา 3 ล้านบาท สามารถอยู่อาศัยได้ 3 ปี และซื้อคอนโดฯราคา 5 ล้านบาท สามารถอยู่อาศัยได้ 5 ปี
  5. มาตรการลดค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอน และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์เหลือ 0.01% ขยายเวลาออกไปอีก 2 ปี (พ.ศ. 2567-68)
  6. มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับการซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่มีมูลค่าไม่เกิน 5 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของตนเองเป็นจำนวน 20% ของมูลค่าอสังหาริมทรัพย์ โดยต้องเป็นการซื้อครั้งแรกและเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยจริง ผู้ซื้อสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต่อเนื่อง ตามจำนวนจ่ายจริงแต่ไม่เกิน 200,000 บาท
  7. ภาครัฐคุมเข้มการปล่อยสินเชื่อ ให้ผ่อนคลาย โดยขอให้ ธปท.ผ่อนคลายมาตรการผ่อนคลายอัตราส่วนการให้สินเชื่อ โดยเทียบกับมูลค่าหลักประกัน (Loan to Value: LTV) เกณฑ์กำหนดกลับไปที่ 95-100% ไปยังกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ สัญญา ที่ 2 สัญญาที่ 3 และที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท ส่วนกลุ่มบ้านหลังแรก คง LTV ไว้ที่ 100%

ซึ่งทุกมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการซื้อที่อยู่อาศัยควรจะครอบคลุมทุกระดับราคา และที่สำคัญ คือ ครอบคลุมทั้งบ้านหรือคอนโดมิเนียมมือหนึ่ง และมือสอง

ไม่อย่างงั้นจะถูกมองว่าเป็นมาตรการที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนบางกลุ่มเท่านั้น

ก็ไม่รู้ว่าข้อเรียกร้องที่รวยรวมมาจะได้รับความสนใจหรือมีการออกมาตราการมาตามที่ภาคเอกชนเรียกร้องหรือไม่