ผู้ซื้อชาวต่างชาติหลักๆ ในประเทศไทยก็คือ ผู้ซื้อชาวจีนซึ่งครองสัดส่วนประมาณ 48% – 60% ของการโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมผู้ซื้อชาวต่างชาติตั้งแต่ปีพ.ศ.2561 เป็นต้นมา
แม้ในช่วงปีพ.ศ.2563 – 2564 ต่อเนื่องมาถึงปีพ.ศ.2565 ที่ประเทศจีนเข้มงวดกับการควบคุมโรคโควิด-19 ภายในประเทศตนเองภายใต้นโยบาย “Zero – Covid”
ซึ่งเป็นมาตรการที่เข้มงวดและส่งผลกระทบไปในวงกว้างไม่เพียงแต่ในประเทศจีนเท่านั้น มาตรการนี้มีความเข้มงวดมากแบบที่คนจีนที่คุ้นเคยกับหลายๆ มาตรการของรัฐบาลเองก็มีความรู้สึกอึดอัด
เพราะรัฐบาลมีคำสั่งล้อคดาวน์เมืองหรือหลายๆ เมืองพร้อมกันทันที เมื่อตรวจพบผู้ติดเชื้อ
รวมไปถึงการกำหนดวันกักตัวผู้ที่เดินทางเข้าประเทศจีนจากต่างประเทศไว้สูงถึง 21 วัน และมีการติดตามผลต่อเนื่องอีกหลายวัน (แม้ว่าล่าสุดจะลดเหลือ 8 วันแล้วก็ตาม)
ส่งผลให้คนจีนจำนวนไม่น้อยตกค้างในต่างประเทศหรือเลือกที่จะไม่กลับประเทศจีนในช่วงโควิด-19
นอกจากนี้มีคนจีนอีกจำนวนไม่น้อยที่เริ่มมองหาช่องทางหรือมองหาโอกาสในการมีที่อยู่อาศัยในต่างประเทศเพื่อพำนักในระยะยาว
ซึ่งการจะไปพำนักในต่างประเทศในระยะยาวนั้นจำเป็นต้องมีที่อยู่อาศัย และจำเป็นต้องมีอาชีพหรือประกอบธุรกิจเพื่อทมี่จะได้มีใบอนุญาตทำงาน
ไม่ใช่ไปในฐานะนักท่องเที่ยวซึ่งมีเรื่องของวีซ่ากำหนดระยะเวลาที่สามารถอยู่ในประเทศนั้นๆ ได้ และการจะอยู่ในประเทศใดนานๆ
ก็ต้องมั่นใจคนในประเทศนั้นให้การต้อนรับรวมไปถึงมีช่องทางในการทำธุรกิจหรือสามารถประกอบอาชีพใดๆ ก็ตาในประเทศนั้นๆ ได้ด้วย
ซึ่งเรื่องต่างๆ เหล่านี้นั้น ประเทศไทยค่อนข้างเปิดกว้าง และสอดคล้องกับการมองหาที่อยู่อาศัยนอกประเทศจีนของคนจีน เพราะเดินทางสะดวก สามารถอยู่ได้นานถ้าทำธุรกิจหรือประกอบอาชีพ แล้วมีใบอนุญาตทำงาน
ซึ่งจะเห็นได้จากจำนวนของตคนจีนที่ขอใบอนุญาตทำงานในประเทศไทยซึ่งเริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในปีพ.ศ.2565 แม้ว่าจะยังไม่เทียบเท่าช่องก่อนโควิด-19 แต่ก็เห็นได้ชัดเจนว่าเพิ่มขึ้น