Home บทความ ค่าเฉลี่ย LTV Ratio ของสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ค่าเฉลี่ย LTV Ratio ของสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ช่วงก่อนปีพ.ศ.2562 ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ได้ประกาศเรื่องของ

หลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่องกับสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

หรือที่เรียกกันติดปากว่า Loan To Value (LTV)

จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าค่าเฉลี่ย LTV Ratio เมื่อธนาคารปล่อยกู้คนที่ต้องการซื้อคอนโดมิเนียม

สูงกว่าบ้านแบบชัดเจน แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วคอนโดมิเนียมจะมีการผ่อนดาวน์ 1 – 2 ปีเพื่อรอเวลาที่โครงการจะสร้างเสร็จ

ซึ่งช่วงเวลา 1 – 2 ปีนั้นสามารถคิดเป็นเงินไม่น้อยกว่า 10% แน่นอน

แต่ธนาคารโดยทั่วไปก็ยังมีการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ที่ซื้อคอนโดมิเนียมในอัตราที่มากกว่า 90%

จนช่วงปีพ.ศ.2562 เมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยมีการบอกว่าจะมีการบังคับใช้เรื่องของ LTV Ratio ในปีพ.ศ.2563

และช่วงปีพ.ศ.2562 เป็นช่วงเวลาที่ให้ทั้งธนาคาร ผู้ประกอบการ และผู้ซื้อได้เตรียมตัวในเรื่องนี้

แต่ธนาคารต่างๆ ไม่ได้แค่เตรียมตัว และเริ่มกำหนดค่า LTV ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยระบุแล้ว

และดูเหมือนจะไม่ใช่แค่ที่อยู่อาศัยสัญญาสินเชื่อที่ 2 ด้วย แต่น่าจะทุกการขอสินเชื่อธนาคาร

จากนั้น ตั้งแต่ปีพ.ศ.2562 ค่าเฉลี่ย LTV ของบ้านจัดสรรมากกว่าคอนโดมิเนียมมาโดยตลอด จนเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยผ่อนคลายเกณฑ์ LTV เป็นการชั่วคราว

ตั้งแต่ปลายปีพ.ศ.2564 ถึงสิ้นปีพ.ศ.2565 และกำลังจะหมดอายุสิ้นปีนี้แล้ว

ดูเหมือนธนาคารแห่งประเทศไทยจะเข้มวงวดกับการซื้อคอนโดมิเนียมมากกว่าบ้าน ถ้าดูจากเกณฑ์ LTV