ชาวเมียนมา ลาว กัมพูชายังคงเหลืออยู่ในประเทศไทยอีกมากเท่าไหร่

แรงงานก่อสร้างในประเทศไทย คือ ชาวเมียนมา ลาว กัมพูชาซะเป็นส่วนใหญ่

5

การกลับมาเปิดไซต์งานก่อสร้างในกรุงเทพมหานครและอีกหลายจังหวัดอาจจะดูเหมือนไม่ค่อยคึกคักหรือมีกิจกรรมอะไรมากมายแบบก่อนหน้านี้

เพราะว่าบางไซต์ก่อสร้างหรือว่าบางที่พักคนงานยังคงอยู่ในช่วงของการกักตัวหรือเฝ้าระวังการติดเชื้อเพิ่มเติมอยู่ยังไม่สามารถเริ่มการก่อสร้างได้แบบที่ตั้งใจ

นอกจากนี้การที่เกิดปัญหาในเรื่องของการสั่งปิดไซต์งานก่อสร้างและที่พักคนงานในช่วงปลายเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลให้คนงานก่อสร้างบางส่วนเลือกที่จะเดินทางกลับไปยังบ้านเกิดหรือไปหางานทำที่จังหวัดอื่นๆ ที่ไม่โดนสั่งปิดไซต์งานก่อสร้าง

เพราะคนงานส่วนใหญ่ยังคงต้องการรายได้และมีรายจ่ายทีชัดเจนอยู่แล้วไม่สามารถหยุดงานได้แบบที่รัฐบาลต้องการ

การกลับมาเปิดไซต์งานก่อสร้างยังคงมีปัญหาใหญ่อีก 1 ปัญหาที่เกิดขึ้นมาตลอดในช่วงปีกว่าๆ ถึง 2 ปีที่ผ่านมา คือ เรื่องของการขาดแคลนคนงานก่อสร้าง

เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้มีการปิดช่องทางผ่านแดนตามแนวชายแดนทุกๆ ช่องทาง ซึ่งมีผลให้การนำเข้าแรงงานต่างชาติติดปัญหา

อีกทั้งแรงงานก่อสร้างที่เป็นคนไทยก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศซึ่งมีกิจกรรมการก่อสร้างต่อเนื่องทั้งโครงการของรัฐบาลและเอกชน

ภาคการก่อสร้างหลายๆ ฝ่ายทั้งเอกชนและราชการพยายามผลักดันให้รัฐบาลแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างชาติมาโดยตลอดตั้งแต่ปีพ.ศ.2562 ที่มีการอนุมัติให้มีการนำเข้าแรงงานต่างด้าว

โดยเฉพาะชาวเมียนมา ลาว และกัมพูชามาได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคมพ.ศ.2562 ต่อเนื่องถึงปีพ.ศ.2563 เพื่อเข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบถูกต้องตามกฎหมาย

ซึ่งเรื่องการแก้ปัญหานี้รัฐบาลและหน่วยงานี่เกี่ยวข้องพยายามช่วยเหลือบริษัทเอกชนที่ต้องการแรงงานต่างด้าวเพื่อทดแทนแรงงานชาวไทยที่ลดลงและไม่ทำงานที่ใช้แรงงานหรืองานหนัก