Home บทความ ตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 อาจจะไม่ดีแบบที่คิด

ตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 อาจจะไม่ดีแบบที่คิด

ตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีพ.ศ.2566 อาจจะไม่ได้ขยายตัวมากแบบที่มีการคาดการณ์

แม้ว่าอาจจะมีผู้ประกอบการหลายรายออกมาบอกว่าตลาดที่อยู่อาศัยผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว และกำลังจะขยายตัวหรือดีขึ้นแน่นอน

เพียงแต่การดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้อาจจะไม่ใช่การปรับตัวดีขึ้นหรือกลับขึ้นมาอยู่ในจุดที่ดีกว่าช่วงโควิด-19

เพราะยังมีปัจจัยลบเยอะมากทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ปัจจัยลบทางการเมืองอาจจะหมดไปแล้วหลังจากที่การจัดตั้งรัฐบาลผ่านไป มีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรี แต่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ

โดยเฉพาะตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม และอาจจะเป็นอีก 1 ปัจจัยที่ทำให้หลายคนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยเลือกที่จะรอต่อไป

การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งล่าสุดเมื่อไม่วันที่ผ่านมา ทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายล่าสุดอยู่ที่ 2.5%

และเป็นการปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2565 และเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่สูงที่สุดในรอบหลายปี

ดอกเบี้ยนโยบายที่เพิ่มขึ้นมีผลให้ธนาคารต่างๆ ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของตนเองแน่นอน และมีผลต่อเนื่องไปถึงการซื้อขายที่อยู่อาศัย

เพราะภาระในการผ่อนชำระรายเดือนมากขึ้น และมีผลต่อการพิจารณาสินเชื่อธนาคาร

แม้ว่าธนาคารต่างๆ จะมีช่วงของระยะเวลาที่คงอัตราดอกเบี้ยไว้ 1 – 3 ปีซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยจะไม่ใช่อัตราสูงสุดก็ตาม แต่ช่วงเวลาการพิจารณาอาจจะเข้มงวดมากขึ้น

อีกทั้งเรื่องของ LTV ที่มีผลโดยตรงต่อคนที่มีสินเชื่อธนาคารอยู่แล้ว และยังผ่อนธนาคารมาไม่เกิน 3 ปี อีกทั้งการพิจารณาสินเชื่อธนาคารของทุกธนาคารมีความเข้มงวดมากจนทำให้สัดส่วนของผู้ที่โดนปฏิเสธสินเชื่อมีมากขึ้น

ผู้ประกอบการหลายรายพยายามเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องนี้ แต่ก็ยังไม่สามารถช่วยได้มากนัก