เส้นทางรถไฟฟ้าที่กระจายออกไปทั่วกรุงเทพมหานคร
อาจจะเป็นการสร้างระบบการขนส่งทางรางที่ดีสะดวกมากขึ้น (แต่ราคาแพง)
แต่ก็เป็นการทำลายรูปแบบการทำธุรกิจเดิมๆ ของคนไทยไปไม่น้อย
เพราะตั้งแต่ปีพ.ศ.2550 เป็นต้นมา
ตึกแถว อาคารพาณิชย์จำนวนมากในกรุงเทพมหานครกลายเป็นอาคารร้าง
โดยอาจจะเริ่มร้างมากขึ้นในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
เพราะปัจจัยหลักๆ ที่มีผลต่อการคงอยู่ของตึกแถวริมถนนในกรุงเทพมหานคร คือ เรื่องของการจอดรถด้านหน้าตึกแถว
การเดินทางของคนสมัยก่อนจะใช้รถโดยสารประจำทางเป็นหลัก ดังนั้น ป้ายรถโดยสารประจำทางจะเป็นแหล่งรวมคนจำนวนมากในอดีต
บริเวณไหนที่เป็นจุดต่อรถโดยสารประจำทางก็จะคึกคัก ดังนั้น ร้านค้า หรือธุรกิจต่างๆ ที่อยู่แถวๆ นั้นก็จะคึกคักไปด้วย
แต่เมื่อไม่สามารถจอดรถริมถนนได้ และรูปแบบการเดินทางของคนในกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงไป
ตึกแถวก็เริ่มหมดคุณค่า เพราะทำธุรกิจแบบเดิมต่อไปไม่ได้แล้ว
ยกเว้นในทำเลที่ยังไม่มีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่านซึ่งอาจจะยังเห็นการคงอยู่ของร้านค้า ร้านอาหารแบบเดิมๆ เหมือนเมื่อในอดีตอยู่
หรือในบางทำเลที่แม้ว่าจะมีเส้นทางรถไฟฟ้าแล้ว แต่ด้วยความเป็นชุมชนขนาดใหญ่ก็อาจจะทำให้ร้านค้า ร้านอาหารยังอยู่ได้ในปัจจุบัน