Home บทความ ที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อยูนิต

ที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อยูนิต

ที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดฯ ในระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อยูนิต สำหรับในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอาจจะพัฒนาได้ แต่โครงการคอนโดฯ

ซึ่งคงเป็นโครงการที่อยู่ในทำเลที่ไกลจากเส้นทางรถไฟฟ้าหรืออยู่ในซอยพอสมควร แต่ยังเดินทางเข้าออกแหล่งงานได้สะดวก หรืออยู่ในแหล่งงานสำคัญต่างๆ เช่น

อยู่ในโซนอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี แบบที่เห็นผู้ประกอบการหลายรายเปิดขายโครงการคอนโดฯราคาขายเริ่มต้นที่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อยูนิต

ถ้าเป็นในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากเส้นทางรถไฟฟ้า อาจจะเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่นอกกรุงเทพฯ หรือพื้นที่รอบนอกเมืองของกรุงเทพฯ

สำหรับที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อยูนิตในต่างจังหวัด ยังมีทางเลือกที่มากกว่า

เพราะสามารถพัฒนาได้ทั้งโครงการคอนโดฯ และบ้านจัดสรร โครงการบ้านจัดสรรอาจจะเป็นทาวน์เฮาส์ 1-2 ชั้นในแหล่งชุมชนของเมือง เพียงแต่ไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง และโครงการบ้านจัดสรรน่าจะได้รับการตอบรับที่ดีกว่า

เพราะปัจจัยสนับสนุนให้ซื้อคอนโดมิเนียมในต่างจังหวัดนั้นน้อยกว่ากรุงเทพฯ ที่มีปัจจัยสำคัญในเรื่องโครงข่ายรถไฟฟ้าที่ขยายออกไปอย่างต่อเนื่อง

ยกเว้นในหัวเมืองที่มีสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดหรือหัวเมืองใหญ่ที่อาจจะเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เช่น จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ พิษณุโลก นครสวรรค์ เชียงใหม่ และเชียงราย เป็นต้น

ซึ่งครอบคลุมทั้งหัวเมืองใหญ่ และหัวเมืองรอง ที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่แพงหรืออยู่ในช่วงไม่มากกว่า 2 ล้านบาทต่อยูนิต

แม้ว่าจะสามารถสร้างความน่าสนใจและดึงดูดให้กลุ่มผู้ซื้อที่ใหญ่มาก เพราะจะได้กำลังซื้อที่เป็นฐานใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แล้ว ยังได้รับความสนใจจากกลุ่มของนักลงทุน

ที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่แพงหรืออยู่ในช่วงไม่มากกว่า 2 ล้านบาทต่อยูนิต

แม้ว่าจะสามารถสร้างความน่าสนใจและดึงดูดให้กับกลุ่มผู้ซื้อที่ใหญ่มาก

เพราะจะได้กำลังซื้อที่เป็นฐานใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แล้วยังได้รับความสนใจจากกลุ่มของนักลงทุน

ดังนั้น แม้ว่าผู้ซื้อกลุ่มนี้อาจจะมีปัญหาในเรื่องของขอสินเชื่อธนาคาร เพราะติดขัดจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและการขาดการเตรียมตัวเพื่อขอสินเชื่อธนาคาร

แต่ด้วยความที่เป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุด ก็ยังสามารถหาผู้ซื้อรายใหม่เข้ามาเพิ่มเติมได้ อีกทั้งผู้ประกอบการก็ยังมีความเข้าใจในลูกค้ากลุ่มนี้มากกว่าที่ผ่านมา

จึงมีมาตรการรองรับและการให้ความรู้สนับสนุนการซื้อและการขอสินเชื่อกับกลุ่มลูกค้านี้

ผู้ประกอบการบางรายอาจจะมีการให้ลูกค้าทดลองขอสินเชื่อตั้งแต่ก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายเลย

เพื่อดูความเป็นไปได้ และให้ลูกค้าได้รู้สถานะของตนเองก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายรวมไปถึงยังเป็นการช่วยให้ลูกค้าสามารถเตรียมตัวในเรื่องของการเงินได้อีกด้วย

และที่สำคัญคือเพื่อเลี่ยงปัญหาการขอสินเชื่อธนาคารไม่ได้เมื่อโครงการพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ประกอบการที่ตัดสินใจพัฒนาโครงการในระดับราคานี้คาดว่ามีความเข้าใจ และความพร้อมในการรับมือปัญหานี้อยู่แล้ว

ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 แล้ว

ที่เห็นได้ชัดเจนเลยว่าคอนโดมิเนียมในระดับราคาต่ำกว่า 70,000 บาทต่อตารางเมตรหรือประมาณ 2.1 – 2.2 ล้านบาทต่อยูนิต

สำหรับคอนโดมิเนียมขนาด 30 ตารางเมตรมีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างชัดเจน

โดยช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ยังมีสัดส่วนที่ค่อนข้างคงที่ก่อนที่จะลดลงในปีพ.ศ.2563 – 2564

ซึ่งก็เป็นไปตามภาวะตลาดคอนโดมิเนียมที่ชะลอตัว และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดคอนโดมิเนียมในระดับราคาอื่นๆ

แต่พอสถานการณ์โควิด-19 เริ่มอยู่ในภาวะผ่อนคลายในปีพ.ศ.2565

ตลาดคอนโดมิเนียมเริ่มมีโครงการเปิดขายใหม่มากขึ้น สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนเลย คือ

การที่สัดส่วนของคอนโดมิเนียมในระดับราคาต่ำกว่า 70,000 บาทต่อตารางเมตรลงไปมีมากขึ้นแบบชัดเจน

มากกว่าจำนวนคอนโดมิเนียมในระดับราคาที่สูงกว่าค่อนข้างมาก

ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 เป็นต้นมา