Home บทความ ธนาคารต่างๆ ก็มีการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์

ธนาคารต่างๆ ก็มีการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์

ธนาคารพาณิชย์เองก็มีความสนใจในเรื่องของการบริหารสินทรัพย์ เพราะทันทีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุมัติให้สถาบันการเงินสามารถจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ก็เริ่มมีธนาคารหลายแห่งแสดงความสนใจในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ทันที

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการระบายพอร์ต NPL/NPA ของตนเอง และเป็นการสร้างรายได้อีกทางรวมไปถึงการขายทรัพย์สินด้วยตนเองหรือบริษัทในเครือก็ยังดีกว่าการขายออกไปในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าจริงของทรัพย์สินนั้นๆ

โดยธนาคารที่มีความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้แบบชัดเจน และเป็นรายแรก คือ ธนาคารกสิกรไทยที่ประกาศร่วมทุนกับ บริษัท เจ เอ็ม ที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน)

ในขณะที่ธนาคารอื่นๆ ยังไม่มีการร่วมทุนกับเอกชนรายอื่นๆ เพื่อจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ทุกธนาคารมีบระทบริหารสินทรัพย์ของตนเองทั้งสิ้น

ซึ่งการเปิดช่องทางการร่วมทุนกับภาคเอกชนของธนาคารแห่งประเทศไทยนี้ยังสามารถจัดตั้งบริษัทร่วมทุนได้ถึงพ.ศ.2567

และหลังจากที่จัดตั้งบริษัทแล้วมีอายุการทำงาน 15 ปีเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อรองรับปัญหาเรื่อง NPL/NPA ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงโควิด-19

บริษัท บริหารสินทรัพย์ขนาดใหญ่ที่เป็นองค์การมหาชน อย่างบริษัท บริหารสินทรัพย์ สุขุมวิท จำกัด ก็เคลื่อนไหวมากขึ้นในช่วงโควิด-19 มีการเข้าซื้อ NPL/NPA จากสถาบันการเงินมาบริหารต่อเนื่องโดยตลอด

เช่นกันกับทางบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ที่เป็นของภาคเอกชนเต็มตัว 100% ยิ่งรุกคืบมากขึ้น มีการแข่งขันกับบริษัทบริหารสินทรัพย์อื่นๆ มากขึ้น และขยายพอร์ตทรัพย์สินของตนเองต่อเนื่องเช่นกัน

แต่ถ้าพิจารณาจากจำนวนของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่เผยแพร่โดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะพบว่าจำนวนบริษัทที่จดทะเบียนเพิ่มขึ้นไม่มากนักในช่วงปีพ.ศ.2563 – 2565

ดูแล้วการที่มีผู้เล่นในธุรกิจบริหารสินทรัพย์เพิ่มขึ้นก็เป็นไปตามกลไกตลาด แต่การอยู่รอดในระยะยาวต่างหากที่น่าสนใจ