30.9 C
Bangkok
Saturday, October 5, 2024

สายสีชมพูยังไม่เปิดแต่ราคาที่ดินขึ้นไปแล้ว

เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร โดยมีแนวเส้นทางผ่านถนนติวานนท์ แจ้งวัฒนะ และรามอินทรา

ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีสถานีร่วมกับเส้นทางรถไฟฟ้าอื่นๆ เช่นกัน สถานีศูนย์ราชการนนทบุรีก็เป็นสถานีร่วมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีม่วง สถานีหลักสี่เป็นสถานีร่วมกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม สถานีวัดพระศรีมหาธาตุเป็นสถานีที่เชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว สถานีมีนบุรีเป็นสถานีร่วมกับสายสีส้ม

และถ้าเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเทามีการพัฒนาขึ้นก็จะมีสถานีร่วมกับสายสีชมพูที่สถานีวัชรพล ซึ่งการเป็นเส้นทางรถไฟฟ้ารางเบาอาจจะไม่ได้มีเส้นทางที่วิ่งเข้าเมืองชั้นใน

แต่เป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อการเดินทางกับเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางอื่นๆ ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางของคนตามแนวเส้นทาง ลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจนเลย คือ ราคาที่ดินในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพูที่ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในช้วงปีพ.ศ.2561 – 2562 ก่อนสถานการณ์โควิด-19 ราคาที่ดินในพื้นที่ต่ำกว่าปัจจุบัน 20 -30%

สถานีที่อยู่จังหวัดนนทบุรีมีราคาที่ดินในช่วงปีพ.ศ.2561 – 2562 อยู่ที่ประมาณ 200,000 – 250,000 บาทต่อตารางวา ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 230,000 – 300,000 บาทต่อตารางวาหรือเพิ่มขึ้นประมาณ 13 – 20%

พื้นที่ตามแนวถนนรามอินทราราคาขายที่ดินปัจจุบันอยู่ในช่วง 200,000 – 300,000 บาทต่อตารางวา ปรับเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 15 – 25% เช่นกัน ก่อนหน้านี้ราคาที่ดินแถวตลาดมีนบุรีอยู่ที่ประมาณ 150,000 – 160,000 บาทต่อตารางวาปัจจุบันอยู่ที่ 200,000 บาทต่อตารางวาไปแล้ว

เพราะเส้นทางรถไฟฟ้า และมีผู้ประกอบการเข้าไปซื้อที่ดินกันมากขึ้น ทำให้ราคาที่ดินปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเห็นได้ตลาดแนวเส้นทาง

โดยเฉพาะในพื้นที่รอบสถานีที่เป็นสถานีร่วมหรือใกล้กับศูนย์การค้า หรือชุมชนเดิม

จำนวนคอนโดมิเนียมในพื้นที่ตามแนวเสนทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ณ ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2566

อยู่ที่ประมาณ 26,270 ยูนิต

โดยเป็นจำนวนคอนโดมิเนียมที่มีการเปิดขายมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2552 และเป็นการขยายตัวแบบต่อเนื่อง

ไม่มีปีใดที่มีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายมากแบบก้าวกระโดด

ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง

อาจจะเป็นเพราะว่า เป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่ผ่านกรุงเทพมหานครรอบนอกทั้ง 2 เส้นทาง ไม่ได้เข้าพื้นที่กรุงเทพมหานครชั้นใน

จึงไม่มีตัวแปรเร่งผู้ประกอบการให้เร่งการเปิดขายโครงการ

อีกทั้งฝั่งของผู้ประกอบการยังมีทางเลือกอื่นๆ ที่น่าสนใจมากกว่าพื้นที่ตามแนว 2 เส้นทางนี้ อัตราการขายก็น่าสนใจเช่นกัน

เพราะโครงการส่วนใหญ่เปิดขายมาสักระยะแล้ว อัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 86%

อาจจะยังมียูนิตเหลือขายอยู่ แต่ไม่มากนัก

ราคาขายเฉลี่ยอยู่ในช่วงไม่เกิน 90,000 บาทต่อตารางเมตร

อาจจะมีบางโครงการที่มีราคาขายมากกว่านี้ แต่ไม่มากนัก

Recent Articles

เอพี ไทยแลนด์ ส่ง HOMERUN ฟื้นชีวิตตลาดที่อยู่อาศัยมือสอง

นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บมจ. เอพี ไทยแลนด์ กล่าวว่า เอพียังคงตั้งมั่นอยู่ภายใต้พันธกิจสำคัญคือ EMPOWER LIVING หรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย มุ่งส่งมอบชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ให้กับทุกคน ด้วยการทำงานแบบเจาะลึก เข้มข้น เพื่อครองความเป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ผ่าน...

LINE แนะธุรกิจอสังหาฯ เดินหน้าสร้างความได้เปรียบ พลิกวิกฤตเป็นโอกาสด้วย LINE

ในยุคที่เทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญขับเคลื่อนธุรกิจ การพัฒนาและปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นสิ่งที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ตลาดต้องเผชิญกับความท้าทายและวิกฤตต่างๆ ผู้ประกอบการที่สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นผู้ได้เปรียบในตลาดมากที่สุด LINE ตระหนักถึงการสร้างความได้เปรียบนี้ จึงจัดสัมมนาย่อย “Making LINE a Home for Real Estate” เปิดข้อมูลการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี LINE โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก LINE ประเทศไทย อัพเดทเทรนด์ธุรกิจตลาดอสังหาฯ ที่น่าสนใจ แนะนำเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยให้ธุรกิจอสังหาฯ...

อาคารสินธรคว้ารางวัล LEED (O+M) GOLD และ FITWEL 2 ดาว

‘กลุ่มสยามสินธร’ ตอกย้ำความสำเร็จวิถีธุรกิจยั่งยืน ปั้น ‘อาคารสินธร’ (Sindhorn Offices) สู่อาคารสำนักงานมาตรฐานระดับโลก LEED (O+M) GOLD และ FITWEL โดดเด่นด้านสุขภาพและสุขภาวะที่ดี การประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด ‘E-S-G’ ตอกย้ำเป้าหมายสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ขับเคลื่อนธุรกิจเติบโตยั่งยืน ตอบโจทย์คนทำงานยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลของชีวิต...

TCMA คว้า 2 รางวัลใหญ่ กระทรวงพาณิชย์

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สร้างการยอมรับระดับประเทศ จากความมุ่งมั่นร่วมมือทุกภาคส่วนต่อเนื่อง เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มุ่งสู่ Net Zero ปี 2593 เข้ารับ 2 รางวัลเกียรติยศ “สมาคมการค้ายอดเยี่ยม” และ “นายกสมาคมการค้าดีเด่น” ประจำปี 2567 จากกระทรวงพาณิชย์

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...