Home บทความ อัตราการเกิดของคนไทยลดลงต่อเนื่อง

อัตราการเกิดของคนไทยลดลงต่อเนื่อง

ช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา น่าจะได้ยินเรื่องของอัตราการเกิดของคนไทยที่ลดลงต่อเนื่อง

โดยลดลงมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2555 มาถึงปัจจุบัน หรือลดลงตต่อเนื่องมาประมาณ 10 – 11 ปีแล้ว

แต่ถ้าดูในภาพรวมแล้วจะเห็นว่าอัตราการเกิดของคนไทย

อยู่ในทิศทางที่เป็นขาลงมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2540 เป็นต้นมา

ซึ่งปีพ.ศ.2540 เป็นปีแรกที่มีอัตราการเกิดต่ำกว่า 9 แสนคน จากนั้นก็ลดลงต่อเนื่อง

อาจจะมีการเพิ่มขึ้นบ้างในบางปี แต่หลังจากนั้นไม่นานก็จะลดลงอีกครั้ง

ซึ่งการที่ประชากรไทยเกิดใหม่ลดลงมาจากหลายปัจจัย

ทั้งเรื่องของภาวะเศรษฐกิจ และค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู  รวมไปถึงคนจำนวนมากย้ายเข้าสู่เมือง

ไม่ได้อยู่ในชนบทหรือทำงานในภาคเกษตรกรรมแบบช่วงก่อนปีพ.ศ.2520 อีกแล้ว

ค่าใช้จ่ายในเมืองรวมไปถึงการต้องทำงานหนัก และความที่ไม่อยากให้ลูกลำบากเหมือนตนเองเริ่มมีมากขึ้น

คนในสังคมเมืองจึงเริ่มมีลูกลดน้อยลง เหลือเพียงครอบครัวละ 1 – 3 คน

จนค่อยๆ ลดลงเดหลือเพียงครอบครัวละ 1 คนก่อนที่จะลดลงเหลือต่ำกว่า 1 คน

นั่นหมายความว่าครอบครัวคนไทยจำนวนมากในปัจจุบันไม่มีลูก

เรื่องของการเกิดที่ลดน้อยลงต่อเนื่องมาในช่วงหลายปีนี้มีผลกระทบต่อสิ่งต่างๆ อีกลหายเรื่องแน่นอนในปัจจุบัน และในอนาคต

การที่คนไทยมีอัตราการเกิดลดลงมาต่อเนื่องในช่วงหลายๆ ปีที่ผานมา

เริ่มเห็นผลกระทบมากขึ้นแล้วในช่วงปัจจุบัน และน่าจะมากขึ้นต่อเนื่องไปถึงอนาคต

เพราะไม่เพียงกระทบตั้งแต่ระบบการศึกษา โรงเรียนเอกชนจำนวนมากไปต่อไม่ได้  โรงเรียนในต่างจังหวัดไกลๆ ก็ต้องปิดตัวเองลงเช่นกัน

ชนบทหลายๆ หมู่บ้านเริ่มขาดแคลนคนรุ่นเด็กไปถึงวัยหนุ่มสาว ในขณะที่สังคมเมืองขาดแคลนแรงงานเพื่อทำงานที่ต้องใช้แรงงาน

การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวจึงกลายเป็นสิ่งที่เจ้าของโรงงาน และเจ้าของกิจการต่างๆ เรียกร้องไปยังรัฐบาล ถึงขนาดต้องมีการให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้นำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน

ธุรกิจอีกหลายๆ อย่างเริ่มเห็นปลายทางในอนาคตว่าไม่สามารถพึ่งพากำลังซื้อคนไทยได้แล้ว

การหันไปเปิดตลาดกับกำลังซื้อต่างชาติจึงกลายเป็นเรื่องจำเป็น ทั้งในเรื่องของธุรกิจการท่องเที่ยว และอสังหาริมทรัพย์

การที่มีคนเกิดน้อยในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมามีผลกระทบในเรื่องของกำลังซื้อที่ลดลง

เพราะเมื่อคนเกิดน้อยแล้วโตขึ้นมาจนถึงช่วงอายุ (35 – 54 ปี) ที่ต้องใช้เงินเพื่อซื้อบ้าน รถ หรือใช้จ่ายต่างๆ ก็น้อยลงไปด้วยเช่นกัน

และในอนาคตก็คงเป็นช่วงเวลาที่กลุ่มคนที่อยู่ในช่วงวัยของการใช้เงินจะมีจำนวนลดลงต่อเนื่อง สวนทางกับกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปที่เพิ่มมากขึ้น

การพึ่งพาแต่กำลังซื้อของคนไทยเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจคงทำได้ยากขึ้นในอนาคต