กรุงเทพมหานคร ณ ปัจจุบันมีเส้นทางรถไฟฟ้าตั้งแต่การเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าเส้นทางแรกในปีพ.ศ.2542 จนถึงปัจจุบันที่เปิดบริการไปแล้วกว่า 281 กิโลเมตร
ยังไม่ถึง 50% ของแผน 20 ปี (ปี 2553-2572) ที่ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้กำหนดไว้ในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (M-MAP)
เส้นทางรถไฟฟ้าปัจจุบันเชื่อมโยง 3 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ
เส้นทางทั้งหมด 211 กิโลเมตร มีผู้ให้บริการรถไฟฟ้า 3 ราย คือ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BTS, บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) SRT
โดยแบ่งเป็นการดำเนินงานของ BTS ระยะทางรวม 70 กิโลเมตร ในเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวหลักและส่วนต่อขยาย 1 และ 2 รวมถึงรถไฟฟ้าสายสีทอง ระยะที่ 1
มาก่อนเจ้าอื่นเลยมีระยะทางมากกว่า
รองลงคือ BEM เปิดให้บริการรถไฟฟ้า 2 สาย คือ สายสีน้ำเงิน และสายสีม่วง ระยะทางรวม 71 กิโลเมตร
โดยแบ่งเป็นสายสีน้ำเงินหรือที่เรียกกันติดปากว่ารถไฟใต้ดิน (MRT) หัวลำโพง-บางซื่อ และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-หลักสอง และบางซื่อ-ท่าพระ รวมระยะทาง 48 กิโลเมตร จำนวน38 สถานี
BEM ยังมีสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-คลองบางไผ่ ระยะทาง 23 กิโลเมตร จำนวน 16 สถานี
สำหรับ รฟท. หรือ SRT ให้บริการรถไฟฟ้า 3 สาย คือ แอร์พอร์ต เรล ลิงค์ เส้นทางพญาไท-สุวรรณภูมิ ระยะทาง 28.5 กิโลเมตร และรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26.3 กิโลเมตรจำนวน 8 สถานี
และล่าสุดที่เพิ่งเปิดให้บริการ คือ รถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ระยะทาง 15 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานีที่เพิ่งเปิดให้บริการเมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว
ยังมีอีกหลายเส้นทางระยะทางรวมแล้วอีกหลายร้อยกิโลเมตรที่กำลังก่อสร้างซึ่งได้แต่หวังว่าจะเสร็จตามแผนที่กำหนดและตามกำหนดเวลาที่วางแผนไว้นะครับ