30.9 C
Bangkok
Sunday, September 8, 2024

โรงเรียนเอกชนขายที่ดินออกไปเยอะเลย

โรงเรียนเอกชนระดับต่างๆ ที่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่ประสบปัญหาขาดทุนหรือหาผู้สืบทอดกิจการไม่ได้ตัดสินใจขายที่ดินออกมาค่อนข้างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หรือตั้งแต่ปีพ.ศ.2542 เป็นต้นมา

เมื่อเส้นทางรถไฟฟ้าเปิดให้บริการ เพราะขนาดที่ดินของโรงเรียนค่อนข้างใหญ่ และอยู่ในชุมชนที่มีคนจำนวนมากอาศัยอยู่ และเมื่อมีเส้นทางรถไฟฟ้าเปิดให้บริการยิ่งเพิ่มศักยภาพของที่ดินให้สูงขึ้นจากในอดีต

บางโรงเรียนเปิดกิจการมายาวนานกว่า 20 – 30 แต่เมื่อทายาทไม่ต้องการรับช่วงกิจการต่อ หรือจำนรวนนักเรียนลดน้อยลงจากปัญหาต่างๆ การเลิกกิจการและขายที่ดินออกไปจึงกลายเป็นเรื่องที่เห็นได้ต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

รวมไปถึงเมื่อครบสัญญาเช่าที่ดินแล้วเจ้าของที่ดินไม่ต่อสัญญาเช่าที่ดิน  เพราะต้องการขายที่ดินออกไปก็มี

เนื่องจากได้รับข้อเสนอในเรื่องของราคาที่ดินที่น่าสนใจ เพราะต้องไม่ลืมว่าที่ดินเหล่านี้เป็นโรงเรียนมายาวนานกว่า 20 – 30 ปีหรือมากกว่านั้น

ตั้งแต่ราคาที่ดินยังต่ำๆ จนถึงวันที่ราคาที่ดินสูงเกินกว่า 100,000 – 150,000 บาทต่อตารางวาสำหรับที่ดินในซอยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ไปจนถึงตารางวาละ 1 ล้านบาทหรือมากกว่านั้นในหลายๆ ทำเล

ทำให้เจ้าของที่ดินหรือเจ้าของโรงเรียนเอกชนจำนวนมากตัดสินใจยกเลิกกิจการโรงเรียนแล้วขายที่ดิน

ซึ่งการขายหรือปล่อยเช่าที่ดินออกไปให้กับเจ้าของใหม่มีทั้งเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากเดิมไปเป็นโครงการอีกรูปแบบหนึ่งเลย หรือเปลี่ยนเป็นโรงเรียนเหมือนเดิมเพียงแต่เปลี่ยนเป็นการเรียนการสอนแบบนานาชาติแทน

นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนเอกชนอีกหลายแห่งที่ปิดกิจการไปนานกว่า 10 ปีหรือมากกว่านั้น แต่ยังคงสภาพอาคารไว้เช่นเดิมไม่ได้รื้อถอนอาคารออกไป เพราะว่าสัญญาเช่าที่ดินยังคงเหลืออยู่กับเจ้าของที่ดิน

เพียงแต่ปรับการใช้ประโยชน์อาคารไม่ได้ เนื่องจากสัญญาเช่ากับเจ้าของที่ดินอาจจะระบุว่าเช่าที่ดินเพื่อทำเป็นโรงเรียนเท่านั้น ไม่สามารถปรับเป็นอาคารเพื่อการใช้ประโยชน์แบบอื่นได้

อาจจะมีโรงเรียนเอกชนบางแห่งที่ปิดกิจการไปแล้ว และปรับให้พื้นที่จอดรถของโรงเรียนเป็นที่จอดรถเอกชนที่รับจอดรถรายวันหรือรายเดือน หรือปล่อยเช่าลานจอดรถของโรงเรียนเพื่อให้ผู้ประกอบการเรื่องที่จอดรถเข้ามาบริหารพื้นที่แทน ส่วนของห้องเรียนหรืออาคารบางส่วนอาจจะปรับให้เช่าเป็นสำนักงานขนาดเล็กหรือที่เก็บของ ซึ่งยังเป็นการสร้างรายได้อีกรูปแบบหนึ่งทดแทนการขาดรายได้จากการเปิดรับนักเรียนไปได้

รวมไปถึงการปล่อยเช่าเป็นโรงเรียนสอนภาษาหรือสอนเสริม สอนพิเศษไป แต่ว่าช่วงหลายปีที่ผ่านมาโรงเรียนสอนภาษา สอนพิเศษก็ทยอยยกเลิกสัญญาเช่า เพราะไปเน้นสอนออนไลน์หมดแล้ว ไม่จำเป็นต้องเช่าอาคารอีกต่อไป

โรงเรียนเอกชนหลายแห่งที่เคยลองทำประโยชน์รูปแบบต่างๆ แล้วยังไม่สามารถสร้างรายได้ได้เพียงพอกับรายจ่ายจึงปิดกิจการถาวรและทยอยบอกขายที่ดินออกมาแบบที่เห็น

นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนเอกชนบางแห่งที่ตัดขายที่ดินบางส่วนเพื่อให้โครงการอสังหาริมทรัพย์นำไปใช้เป็นทางเข้า-ออก

Recent Articles

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...