ในอนาคตอาจจะเห็นที่เลี้ยงเห็นวัวหรือสัตว์ชนิดอื่นๆ รวมไปถึงสวนเกษตรต่างๆ มากขึ้นในกรุงเทพมหานคร

เศรษฐกิจชะลอตัว และการเลื่อนบังคับใช้ผังเมืองกรุงเทพมหานครออกไปจากกำหนดเดิมเป็นปัจจัยสำคัญในการชะลอการพัฒนาโครงการใหม่ๆ

18

ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจากโควิด-19 และการเลื่อนบังคับใช้ผังเมืองกรุงเทพมหานครออกไปจากกำหนดเดิม

ในขณะที่กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผลบังคับใช้ไปแล้ว แม้ว่าจะมีการลดหย่อนให้ในช่วงนี้ก็ตาม

ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวไปแล้วมีผลให้ที่ดินหลายแปลงต้องเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากแผนเดิมไปก่อนเพื่อลดภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ที่ดินที่เคยเป็นแดนเนรมิตเดิมของตระกูลเสรีเริงฤทธิ์ตอนนี้กลายเป็นสวนเมล่อน และไร่สตอเบอร์รี่สายพันธุ์จากประเทศญี่ปุ่น

ที่ดินของกลุ่มเซ็นทรัลที่เคยเป็นของกลุ่มจีแลนด์แถวสี่แยกพระราม 9 ก็กลายเป็นโครงการ g Garden- Urban Farming & Farmer’s Connect หรือ สวนผักใจกลางพระราม 9 และเป็นพื้นที่สำหรับให้เกษตรกรใช้เป็นจุดนัดรับ-ส่งผลผลิตทางการเกษตรอีกด้วย

กลุ่มทีซีซีกำลังปรับหน้าดินที่ดินขนาดใหญ่ 200 กว่าไร่ติดถนนเกษตร-นวมินทร์เพื่อพัฒนาเป็นสวนเกษตรผสมผสานขนาดใหญ่ในระหว่างรอผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่ และรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล

ที่ดินอีกแปลงที่น่าสนใจ คือ ที่ดิน 10 กว่าไร่ติดสถานีรถไฟฟ้าบางหว้าที่ตอนนี้กลายเป็นที่เลี้ยงวัว 3 ตัวพร้อมคอก และบ่อน้ำไปแล้ว

ที่ดินแปลงนี้ไม่รู้ว่าของใครเหมือนกันครับ แต่ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ได้น่าสนใจมากๆ เพราะการเลี้ยงวัว 1 ตัวและมีคอกให้นอนขนาด 7 ตารางเมตรต่อ 1 ตัวก็สามารถระบุว่าที่ดินขนาด 5 ไร่นี้เป็นที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม

อ้างอิงตามประกาศกระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2563

ในอนาคตอาจจะเห็นที่เลี้ยงเห็นวัวหรือสัตว์ชนิดอื่นๆ รวมไปถึงสวนเกษตรต่างๆ มากขึ้นในกรุงเทพมหานครนะครับ