28.2 C
Bangkok
Thursday, September 19, 2024

ที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อยูนิต

ที่อยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือคอนโดฯ ในระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อยูนิต สำหรับในกรุงเทพฯ และปริมณฑลอาจจะพัฒนาได้ แต่โครงการคอนโดฯ

ซึ่งคงเป็นโครงการที่อยู่ในทำเลที่ไกลจากเส้นทางรถไฟฟ้าหรืออยู่ในซอยพอสมควร แต่ยังเดินทางเข้าออกแหล่งงานได้สะดวก หรืออยู่ในแหล่งงานสำคัญต่างๆ เช่น

อยู่ในโซนอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ปทุมธานี แบบที่เห็นผู้ประกอบการหลายรายเปิดขายโครงการคอนโดฯราคาขายเริ่มต้นที่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อยูนิต

ถ้าเป็นในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากเส้นทางรถไฟฟ้า อาจจะเป็นเส้นทางรถไฟฟ้าที่อยู่นอกกรุงเทพฯ หรือพื้นที่รอบนอกเมืองของกรุงเทพฯ

สำหรับที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อยูนิตในต่างจังหวัด ยังมีทางเลือกที่มากกว่า

เพราะสามารถพัฒนาได้ทั้งโครงการคอนโดฯ และบ้านจัดสรร โครงการบ้านจัดสรรอาจจะเป็นทาวน์เฮาส์ 1-2 ชั้นในแหล่งชุมชนของเมือง เพียงแต่ไม่ได้อยู่ใจกลางเมือง และโครงการบ้านจัดสรรน่าจะได้รับการตอบรับที่ดีกว่า

เพราะปัจจัยสนับสนุนให้ซื้อคอนโดมิเนียมในต่างจังหวัดนั้นน้อยกว่ากรุงเทพฯ ที่มีปัจจัยสำคัญในเรื่องโครงข่ายรถไฟฟ้าที่ขยายออกไปอย่างต่อเนื่อง

ยกเว้นในหัวเมืองที่มีสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดหรือหัวเมืองใหญ่ที่อาจจะเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เช่น จังหวัดชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ พิษณุโลก นครสวรรค์ เชียงใหม่ และเชียงราย เป็นต้น

ซึ่งครอบคลุมทั้งหัวเมืองใหญ่ และหัวเมืองรอง ที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่แพงหรืออยู่ในช่วงไม่มากกว่า 2 ล้านบาทต่อยูนิต

แม้ว่าจะสามารถสร้างความน่าสนใจและดึงดูดให้กลุ่มผู้ซื้อที่ใหญ่มาก เพราะจะได้กำลังซื้อที่เป็นฐานใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แล้ว ยังได้รับความสนใจจากกลุ่มของนักลงทุน

ที่อยู่อาศัยที่มีราคาไม่แพงหรืออยู่ในช่วงไม่มากกว่า 2 ล้านบาทต่อยูนิต

แม้ว่าจะสามารถสร้างความน่าสนใจและดึงดูดให้กับกลุ่มผู้ซื้อที่ใหญ่มาก

เพราะจะได้กำลังซื้อที่เป็นฐานใหญ่ที่สุดของประเทศไทย แล้วยังได้รับความสนใจจากกลุ่มของนักลงทุน

ดังนั้น แม้ว่าผู้ซื้อกลุ่มนี้อาจจะมีปัญหาในเรื่องของขอสินเชื่อธนาคาร เพราะติดขัดจากปัญหาหนี้ครัวเรือนและการขาดการเตรียมตัวเพื่อขอสินเชื่อธนาคาร

แต่ด้วยความที่เป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ที่สุด ก็ยังสามารถหาผู้ซื้อรายใหม่เข้ามาเพิ่มเติมได้ อีกทั้งผู้ประกอบการก็ยังมีความเข้าใจในลูกค้ากลุ่มนี้มากกว่าที่ผ่านมา

จึงมีมาตรการรองรับและการให้ความรู้สนับสนุนการซื้อและการขอสินเชื่อกับกลุ่มลูกค้านี้

ผู้ประกอบการบางรายอาจจะมีการให้ลูกค้าทดลองขอสินเชื่อตั้งแต่ก่อนทำสัญญาจะซื้อจะขายเลย

เพื่อดูความเป็นไปได้ และให้ลูกค้าได้รู้สถานะของตนเองก่อนตัดสินใจเซ็นสัญญาจะซื้อจะขายรวมไปถึงยังเป็นการช่วยให้ลูกค้าสามารถเตรียมตัวในเรื่องของการเงินได้อีกด้วย

และที่สำคัญคือเพื่อเลี่ยงปัญหาการขอสินเชื่อธนาคารไม่ได้เมื่อโครงการพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ ผู้ประกอบการที่ตัดสินใจพัฒนาโครงการในระดับราคานี้คาดว่ามีความเข้าใจ และความพร้อมในการรับมือปัญหานี้อยู่แล้ว

ตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานครช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ก่อนโควิด-19 แล้ว

ที่เห็นได้ชัดเจนเลยว่าคอนโดมิเนียมในระดับราคาต่ำกว่า 70,000 บาทต่อตารางเมตรหรือประมาณ 2.1 – 2.2 ล้านบาทต่อยูนิต

สำหรับคอนโดมิเนียมขนาด 30 ตารางเมตรมีสัดส่วนที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างชัดเจน

โดยช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ยังมีสัดส่วนที่ค่อนข้างคงที่ก่อนที่จะลดลงในปีพ.ศ.2563 – 2564

ซึ่งก็เป็นไปตามภาวะตลาดคอนโดมิเนียมที่ชะลอตัว และเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดคอนโดมิเนียมในระดับราคาอื่นๆ

แต่พอสถานการณ์โควิด-19 เริ่มอยู่ในภาวะผ่อนคลายในปีพ.ศ.2565

ตลาดคอนโดมิเนียมเริ่มมีโครงการเปิดขายใหม่มากขึ้น สิ่งที่สังเกตได้ชัดเจนเลย คือ

การที่สัดส่วนของคอนโดมิเนียมในระดับราคาต่ำกว่า 70,000 บาทต่อตารางเมตรลงไปมีมากขึ้นแบบชัดเจน

มากกว่าจำนวนคอนโดมิเนียมในระดับราคาที่สูงกว่าค่อนข้างมาก

ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วงตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 เป็นต้นมา

Recent Articles

TCMA คว้า 2 รางวัลใหญ่ กระทรวงพาณิชย์

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สร้างการยอมรับระดับประเทศ จากความมุ่งมั่นร่วมมือทุกภาคส่วนต่อเนื่อง เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มุ่งสู่ Net Zero ปี 2593 เข้ารับ 2 รางวัลเกียรติยศ “สมาคมการค้ายอดเยี่ยม” และ “นายกสมาคมการค้าดีเด่น” ประจำปี 2567 จากกระทรวงพาณิชย์

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...