27.9 C
Bangkok
Friday, October 25, 2024

กฎหมายน่าสนใจ

พื้นที่รอบๆ วงเวียนใหญ่มีข้อกำหนดอะไรหรือไม่???

พื้นที่ต่อเนื่องจากพื้นที่ทั้ง 4 บริเวณที่กำหนดในข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ที่กำหนดว่าห้ามก่อสร้างอาคารสูงในพื้นที่ต่อเนื่องจากวัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร คือ พื้นที่รอบวงเวียนใหญ่ซึ่งมีข้อกำหนดว่าห้ามก่อสร้างความสูงตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารบางชนิดหรือบางประเภทในพื้นที่บางส่วนในท้องที่แขวงหิรัญรูจี แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งออกเป็น 2...

ทำไมไม่มีอาคารสูงแถวๆ สะพานพระราม 8 และสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า

เชื่อว่าหลายคนคงจะเคยสงสัยหรือว่าไม่เข้าใจว่าทำไมพื้นที่ใกล้ๆ กับสะพานพระราม 8 และสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถึงไม่มีตึกสูงๆ เลย ทั้งๆ ที่พื้นที่ตรงนั้นทั้งติดแม่น้ำเจ้าพระยา ทั้งๆ ที่อยู่ตรงข้ามกับเกาะรัตนโกสินทร์ วิวน่าจะสวยสุดๆ ไปเลยถ้าสร้างคอนโดมิเนียม โรงแรมในพื้นที่นี้

ข้อจำกัดในการพัฒนาอาคารสูงของถนนจรัญสนิทวงศ์

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อการก่อสร้างอาคารหรือการดัดแปลง รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์อาคารมีหลายฉบับมากเลย แต่ส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่รอบๆ พื้นที่อนุรักษ์ โบราณสถาน วัดสำคัญ สวนสาธารณะ วงเวียนขนาดใหญ่ พื้นที่ป้องกันน้ำท่วม กับพื้นที่ชุมชนหนาแน่นบางแห่ง กับพื้นที่ริมถนนที่เพิ่งมีการก่อสร้างใหม่ๆ บางเส้นทาง เพื่อควบคุมความสูงไม่ให้บดบังสิ่งก่อสร้างที่เป็นโบราณสถาน...

ที่อยู่อาศัยขยายออกไปชนกับเขตอุตสาหกรรมดั้งเดิม

หลายพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีการใช้ประโยชน์บนที่ดินที่หลากหลายจนหลายๆ ครั้งเกิดคำถามว่าทำไมอสังหาริมทรัพย์บางประเภทถึงได้อยู่ในพื้นที่เดียวกันกับอสังหาริมทรัพย์บางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดเหตุการณ์รุนแรง หรือเกิดความขัดแย้ง เนื่องจากการรูปแบบการใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อนหน้านี้มีข่าวว่าผู้ที่พักอาศัยในโครงการคอนโดมิเนียมมีปัญหากับวัดข้างเคียงเรื่องการใช้เสียงหรือการตีระฆังทั้งๆ ที่วัดอยู่มานานหลายสิบปี โครงการคอนโดมิเนียมเพิ่งจะสร้างได้ไม่นาน และการตีระฆังหรือกลองของวัดก็เป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมาอย่างถูกต้องแล้ว เรื่องแบบนี้อาจจะไม่ใช่ปัญหารุนแรงเพราะสุดท้ายแล้วก็เป็นเรื่องของบุคคล เมื่อเวลาผ่านไปก็จบ แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์รุนแรงถึงขั้นก่อความเสียหายทั้งกับชีวิตและทรัพย์สินรวมไปถึงความมั่นใจหลายๆ อย่างแบบเหตุการณ์โรงงานระเบิดที่กิ่งแก้วก็เป็นเรื่องที่สร้างความสับสนกันได้เช่นกันว่าทำไมมีโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่ที่อยู่อาศัย ก่อนหน้านี้สัก 30 – 40 ปี พื้นที่รอบนอกกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะในจังหวัดสมุทรปราการ สมุทรสาคร ปทุมธานี นนทบุรี เป็นพื้นที่ที่มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดเล็ก รวมไปถึงโกดังเก็บสินค้ากระจายอยู่โดยทั่วไป ทั้งที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมและนอกนิคมอุตสาหกรรม หลายโรงงานและโกดังสินค้าเกิดขึ้นก่อนที่จะมีผังเมืองเกิดขึ้นในหลายๆ พื้นที่ ดังนั้น จึงมีโกดังสินค้าและโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนไม่น้อยที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีผังเมืองบังคับใช้ ซึ่งเมื่อมีผังเมืองบังคับใช้แล้ว ผู้ที่มีส่วนในการออกแบบผังเมืองจึงพยายามตีกรอบให้โรงงานที่มีอยู่แล้วเหล่านั้นเป็นเขตอุตสาหกรรมไป รวมไปถึงการตีกรอบให้ชุมชน พื้นที่พาณิชยกรรมเป็นเขตพื้นที่ผังเมืองสีต่างๆ ตามที่เห็นในผังเมืองของแต่ละจังหวัด และในหลายๆ พื้นที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของสีผังเมืองกันต่อเนื่องเช่นกัน เพราะด้วยการขยายตัวของเมืองปัจจัยอะไรหลายๆ...

เขตพัฒนาพิเศษพื้นที่ภาคตะวันออกยังไม่จบแค่ผัง EEC

โครงการขนาดใหญ่ที่ครอบคลุมจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นการจัดสรรพื้นที่เพื่อรองรับการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมรวมไปถึงการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งในรุปแบบของถนน เส้นทางรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูงมอเตอร์เวย์ และสนามบินเพื่อรองรับการเดินทาง การขนส่งสินค้า และกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดนิคมอุตสหากรรมที่ได้รับการส่งเสริมในพื้นที่ทั้ง 3 จังหวัด รวมไปถึงพื้นที่พิเศษอื่นๆ ทั้งชุมชนใหม่ที่จะเกิดขึ้น สถานีรถไฟที่จะมีการพัฒนาเพิ่มเติมในอนาคต