30.9 C
Bangkok
Sunday, September 8, 2024

กระแสเงินสดกับการประกอบธุรกิจ

ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องมีกระแสเงินสดในบริษัทที่มากพอสมควร

เพราะค่าใช้จ่ายรายเดือน และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการมีมากมาย

ซึ่งในภาวะที่โครงการต่างๆ ขายดี หรือมีรายได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ต่อเนื่องก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่ต้องมีการเปิดขายโครงการต่อเนื่องไปเรื่อยๆ เพื่อรักษากระแสเงินสดให้เกิดการหมุนเวียน

แต่เมื่อใดก็ตามที่เกิดปัญหาในเรื่องของเงินทุนหรือกระแสเงินสด การหยุดการก่อสร้าง ลดพนักงาน ลดการเปิดโครงการใหม่

และทยอยขายที่ดินจะเป็นสิ่งที่เห็นได้พร้อมๆ กันจากผู้ประกอบการที่มีปัญหา เพื่อเป็นการสร้างรายได้เข้ามาหมุนเวียนในบริษัท และเป็นการลดรายจ่ายลงแบบทันทีทันใด

ซึ่งสถานการณ์ของการขาดกระแสเงินสดอาจจะไม่ได้เกิดในช่วงของสถานการณ์โควิด-19 เท่านั้น

แต่อาจจะเกิดในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว แล้วผู้ประกอบการเปิดโครงการพร้อมกันมากเกินไป จนบางโครงการขายไม่ได้ และทำให้กระแสเงินสดติดขัด หรือเปิดขายโครงการด้วยเงินจากธนาคารในสัดส่วนที่มากเกินไป

และไม่สามารถใช้คืนสินเชื่อธนาคารได้ตามกำหนด จนถึงขั้นโดนธนาคารยึดทรัพย์เพื่อชำระหนี้สิน จากนั้น โครงการที่เหลือก็ไปต่อไม่ได้ เพราะคนขาดความเชื่อมั่นไปแล้ว ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการฟื้นความเชื่อมั่น แต่ก็จะไม่สามารถสร้างกระแสได้แบบก่อนหน้านี้

ช่วงของสถานการณ์โควิด-19 สร้างปัญหาให้กับผู้ประกอบการหลายราย โดยเฉพาะในรายเล็ก รายกลางที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์

เพราะเงินทุนหมุนเวียนหรือกระแสเงินสดอาจจะขาดมือ แต่หาช่องทางในการระดมทุนได้ยาก

การออกหุ้นกู้สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์อาจจะเป็นทางออกที่น่าสนใจ และได้เงินรวดเร็วมาก แต่ต้องไม่ลืมว่าอัตราดอกเบี้ยอาจจะสูง และเมื่อผิดนัดชำระหนี้สินก็สร้างความเสียหายได้แบบทันที

เนื่องจากผู้เสียหายมีหลายคน ไม่เหมือนกับการขอสินเชื่อธนาคาร แต่ธนาคารในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ก็เข้มงวดไม่ปล่อยสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการง่ายๆ เงื่อนไขในการพิจารณามากขึ้น วงเงินที่ให้สินเชื่อก็ลดลง และมีข้อบังคับต่างๆ มากขึ้น

การออกหุ้นกู้จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่สุด แต่ก็เห็นผู้ประกอบการหลายรายที่มีปัญหาเพราะหุ้นกู้

เนื่องจากไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ย หรือจ่ายเงินเมื่อครบกำหนดได้ ดังที่เป็นข่าวทั้งในต่างประเทศ และประเทศไทย

สาเหตุหลัก คือ การขาดกระแสเงินสด หรือไม่มีรายได้เข้าบริษัทในช่วงที่ผ่านมา และถ้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แล้วมีปัญหาในเรื่องของกระแสเงินสดก็แสดงว่าไม่สามารถออกหุ้นกู้หรือระดมทุนเพิ่มเติมได้อีกแล้ว

เพราะขาดความน่าเชื่อถือ หรือมีปัญหาเกิดขึ้น แบบที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจีนมีปัญหาก่อนหน้านี้ ต้องหาทางสร้างกระแสเงินสดจากการขายอสังหาริมทรัพย์ หรือหานักลงทุนเข้ามาลงทุนเพิ่มเติม

Recent Articles

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...

‘พาร์คสีลม’ ต้อนรับเจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์)

“พาร์ค สีลม” อาคารสำนักงานเกรดเอ เปิดบ้านต้อนรับ เจนเนอราลี่ ประกันชีวิต (ไทยแลนด์) เปิดสำนักงานใหม่ ใจกลางถนนสีลม นางอรฤดี ณ ระนอง กรรมการบริหาร บริษัท นายณ์ แอนด์ อาร์จีพี ดีเวลลอปเม้นท์...