เรื่องของหนี้ครัวเรือนในประเทศไทย เป็นอีก 1 เรื่องที่ทางเราติดตามมาโดยตลอด
พูดถึงเขียนถึงเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้ว
และเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดูแล้วไม่ส่งผลดีต่อหลายๆ อย่าง
ซึ่งเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยคิดว่าเหมาะสมที่สุด คือ ที่ 80% ของ GDP
แต่จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ เดือนกันยายน พ.ศ.2565 นั้น
หนี้ครัวเรือนของประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 86.8% ลดลงจากช่วงปีพ.ศ.2563 -2564
ซึ่งอาจจะลดลงเพราะมูลค่า GDP ไทยเพิ่มขึ้นประกอบกับการก่อหนี้ของครัวเรือนไทยลดลงด้วย
และส่วนใหญ่ของหนี้ครัวเรือนไทยนั้นเป็นหนี้จากสินเชื่อส่วนบุคคล บัตรเครดิต ยานพาหนะ และผ่อนจ่ายสินค้าต่างๆ
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้ที่ก่อเพื่อนำมาใช้ไม่ใช่ก่อหนี้เพื่อนำมาสร้างรายได้ต่อไป
และสัดส่วนการเป็นหนี้เสียก็ค่อนข้างเยอะมาก
และถ้าไม่มีการแก้ไขประเทศไทยก็อาจจะติดกับดักนี้ต่อไปอีกหลายปี เพราะการเป็นหนี้ครัวเรือนในสัดส่วนที่มากกว่า 80%
มีผลกระทบในหลายๆ เรื่อง โดยเฉพาะตลาดที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบมาหลายปีแล้ว จากการที่ผู้ที่อยากซื้อบ้านแต่ไม่สามารถขอสินเชื่อธนาคารได้
และอัตราการปฏิเสธสินเชื่อที่อยู่อาศัยในกลุ่มผู้ที่มีรายได้ปานกลางลงมาค่อนข้างสูงถึง 50%