25.9 C
Bangkok
Thursday, September 19, 2024

โครงการมิกซ์-ยูสในกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล

โครงการมิกซ์-ยูส น่าจะเป็นอีก 1 รูปแบบโครงการอสังหาริมทรัพย์ ที่มีการพูดถึง และพัฒนากันมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

ซึ่งในความเป็นจริงแล้วโครงการมิกซ์-ยูสมีการพัฒนากันมาก่อนหน้านี้นานมากแล้ว บางโครงการมีมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2530 ซะอีก

โครงการมิกซ์-ยูสในกรุงเทพมหานคร – ปริมณฑล มีโครงการใหม่เปิดให้บริการทุกปีในช่วงที่ผ่านมา มากบ้าง น้อยบ้างแล้วแต่ภาวะเศรษฐกิจ และผู้ประกอบการเจ้าของโครงการ

เพราะการจะพัฒนาโครงการมิกซ์-ยูสบนที่ดินจำเป็นต้องมีปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน เช่น ผังเมือง ศักยภาพของที่ดิน ขนาดที่ดิน ราคาที่ดิน อุปทาน และอุปสงค์ในพื้นที่นั้นๆ

ซึ่งโครงการมิกซ์-ยูสหลายโครงการอยู่ในทำเลที่ดีมากๆ เช่น พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า หรือสถานีร่วมของเส้นทางรถไฟฟ้า 2 สาย เป็นต้น

และหลายโครงการเป็นที่ดินเช่าแปลงใหญ่มากๆ ซึ่งข้อจำกัดของที่ดินเช่าระยะยาว คือ ไม่สามารถพัฒนาเป็นโครงการขายแบบคอนโดมิเนียมได้

ถ้าเป็นที่ดินเช่าระยะยาว และขนาดแปลงใหญ่ๆ สุดท้ายแล้วจะจบลงที่โครงการมิกซ์-ยูสเสมอ

การใช้ประโยชน์พื้นที่ส่วนต่างๆ ในโครงการมิกซ์-ยูสนั้นแตกต่างกัน

เพราะไม่ได้เป็นโครงการที่มีการใช้ประโยชน์เพียงเพื่อ 1 วัตถุประสงค์ แต่มีมากกว่า 2 การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของโครงการ

ซึ่งโครงการอาจจะเป็นเพียง 1 อาคารเท่านั้นแต่แบ่งการใช้ประโยชน์มากกว่า 2 ส่วนขึ้นไป เช่น อาคารสำนักงานที่มีพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่

หรือเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีมากกว่า 1 อาคารขึ้นไป และแบ่งการใช้ประโยชน์ตามอาคารต่างๆ ซึ่งอาจจะมีส่วนด้านล่าง 1 – 3 ชั้นหรือมากกว่านั้นเชื่อมถึงกันหมด

การใช้ประโยชน์ของพื้นที่ในส่วนต่างๆ ของโครงการมิกซ์-ยูสที่เปิดเผยโดยศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

เห็นได้ชัดเจนเลยว่าโครงการมิกซ์-ยูสในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีพื้นที่ที่เป็นอาคารสำนักงานมากที่สุด

และในโครงการที่กำลังก่อสร้างก็มีส่วนของอาคารสำนักงานอีกไม่น้อย

ส่วนที่ตามมาเป็นอันดับที่ 2 คือ พื้นที่ค้าปลีกที่ตามมาห่างๆ ทั้งส่วนที่ก่อสร้างเสร็จแล้ว และที่กำลังก่อสร้าง

ส่วนของคอนโดมิเนียมหรืออาคารชุดตามมาเป็นอันดับที่ 3

ส่วนโรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ตเม้นต์อยู่ในอันดับที่ 4 และ 5 ตามลำดับ

โครงการมิกซ์-ยูสที่เปิดมาแล้วมากกว่า 20 ปีส่วนใหญ่เป็นอาคารสำนักงานที่มีพื้นที่ค้าปลีกเป็นส่วนประกอบในโครงการ

อาจจะมีบางโครงการที่เป็นโครงการขนาดใหญ่แยกหลายการใช้ประโยชน์แต่มีอาคารสำนักงาน และพื้นที่ค้าปลีกเป็น 1 ในนั้น

จึงมีผลให้ทั้ง 2 ประเภทมีพื้นที่รวมที่มากกว่าประเภทอื่นๆ ค่อนข้างมาก

Recent Articles

TCMA คว้า 2 รางวัลใหญ่ กระทรวงพาณิชย์

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สร้างการยอมรับระดับประเทศ จากความมุ่งมั่นร่วมมือทุกภาคส่วนต่อเนื่อง เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มุ่งสู่ Net Zero ปี 2593 เข้ารับ 2 รางวัลเกียรติยศ “สมาคมการค้ายอดเยี่ยม” และ “นายกสมาคมการค้าดีเด่น” ประจำปี 2567 จากกระทรวงพาณิชย์

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...