25.9 C
Bangkok
Thursday, September 19, 2024

“LWS” ชี้ 6X6 แนวทางการพัฒนาโครงการและบริการในคอนโดฯ เพื่อสัตว์เลี้ยง

“แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น” ระบุ 6 แนวทางที่ต้องมีในการพัฒนาและ 6 บริการที่ควรมีสำหรับการพัฒนาคอนโดมิเนียมเพื่อสัตว์เลี้ยง ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ซื้อที่เปลี่ยนไป

นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล ดับเบิลยู เอส  วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LWS)  บริษัทวิจัยและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล. พี. เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด(มหาชน) ระบุถึงแนวโน้มการพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยหรือคอนโดมิเนียมในปัจจุบันว่า ความต้องการซื้อคอนโดมิเนียมที่สามารถเลี้ยงสัตว์เลี้ยงได้ (Pet Friendly Condominium) มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากผลการสำรวจของ “LWS” พบว่าในปี 2565 มีโครงการอาคารชุดที่พักอาศัยที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล ทั้งสิ้น 5,663 ยูนิต เพิ่มขึ้น 4,394% จากจำนวน 157 ยูนิต ในปี 2561 สะท้อนให้เห็นพฤติกรรมของผู้ซื้อที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไป สอดคล้องกับพฤติกรรมของคนไทยในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับการเลี้ยงสัตว์เลี้ยงในแบบ “pet humanization” หรือที่เรียกว่า พฤติกรรมที่เจ้าของเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงเสมือนลูก หรือเป็นสมาชิกของครอบครัว จากการคาดการณ์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ระบุว่า มูลค่าตลาดสัตว์เลี้ยงของไทยจะเติบโตเฉลี่ยปีละ 8.4% มาอยู่ที่ 66,748 ล้านบาทในปี 2569

จากแนวโน้มดังกล่าวทำให้การพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ซื้อที่เปลี่ยนแปลงไปจากผลการสำรวจของ “LWS” ระหว่างวันที่ 1-20 สิงหาคม 2566 โดยมีจำนวนผู้ตอบแบบสอบถามทั้งสิ้น 180 คน เกี่ยวกับอาคารชุดพักอาศัยที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ พบว่า ผู้ซื้อให้ความสำคัญกับรูปแบบของโครงการและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการใน 6 ประเด็นได้แก่

1.โครงการควรมีพื้นที่เดินเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง: ภายในโครงการควรมีพื้นที่เดินเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยง ที่เพียงพอให้สัตว์เลี้ยงที่อาศัยในโครงการสามารถเดินเล่น หรือเดินออกกำลังกายได้อย่างสะดวก พื้นที่นี้ควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยและมีระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อป้องกันอันตรายจากภัยคุกคามจากภายนอก เช่น รั้วกั้นสัตว์ภายนอกเข้ามาทำร้ายสัตว์เลี้ยงภายในโครงการ

2.ระบบระบายอากาศ : การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงอาจส่งผลให้มีกลิ่นได้ ตัวอาคารเองควรมีระบบระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพเพื่อรักษาภาพอากาศในห้องชุดพักอาศัย และห้องส่วนกลาง

3.การจัดการของเสียที่เกิดจากสัตว์เลี้ยง : การเลี้ยงสัตว์อาจส่งผลให้มีขยะเพิ่มขึ้น โครงการควรมีระบบจัดการสิ่งของเสียที่เหมาะสม เช่น ถังขยะที่มีล็อคให้สัตว์เลี้ยงไม่สามารถเข้าถึงได้ มีรอบการจัดเก็บขยะในห้องพักขยะที่ถี่ขึ้น

4.การใช้สารพิษในการกำจัดปลวก/แมลง : การใช้สารเคมีในโครงการควรพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้สร้างความเสี่ยงต่อสัตว์เลี้ยง แนะนำให้ใช้วิธีการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อต้องการความสะอาดและการดูแลสุขาภิบาลในคอนโด

5.การควบคุมเสียง: การควบคุมเสียงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อไม่ให้สัตว์เลี้ยงทำเสียงรบกวนผู้อยู่อาศัยอื่น ๆ เช่น การติดตั้งแผ่นซับเสียงในห้องชุด / พื้นที่ส่วนกลาง เป็นต้น

6.การศึกษาผู้อยู่อาศัย: ควรมีการสร้างความเข้าใจและการศึกษาผู้อยู่อาศัยเกี่ยวกับความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์และกฎระเบียบเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในอาคารชุด เพื่อให้ทุกคนสามารถร่วมมือกันในการรักษาความสงบสุขและการอยู่ร่วมกับสัตว์เลี้ยงได้ รวมถึงการบริหารจัดการค่าส่วนกลางสำหรับโครงการที่ให้เลี้ยงสัตว์ได้ จากผลการสำรวจพบว่า 97% ของผู้ตอบแบบสอบถามยอมรับเงื่อนไข/กฎระเบียบ/ข้อบังคับ เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายสำหรับการเลี้ยงสัตว์ที่สูงกว่าโครงการที่ไม่ให้เลี้ยงสัตว์ได้ 

นอกจากรูปแบบ สิ่งอำนวยความสะดวกภายในโครงการและกฏกติกาในการอยู่อาศัยที่แตกต่างจากโครงการอาคารชุดทั่วไปแล้ว จากผลการสำรวจของ “LWS” พบว่า ถ้าภายในโครงการสามารถเพิ่มงานบริการที่ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้อยู่อาศัยที่มีสัตว์เลี้ยงได้ จะทำให้โครงการดังกล่าวได้รับความสนใจมากขึ้น โดยการจัดการพื้นที่ส่วนกลางหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ของโครงการให้มีงานบริการที่ตอบโจทย์กับผู้ซื้อที่มีสัตว์เลี้ยง จากผลการสำรวจพบว่ามี 6 งานบริการที่น่าสนใจและเป็นที่ต้องการของผู้ซื้ออาคารชุดพักอาศัยที่เข้ามาพักอาศัยพร้อมกับสัตว์เลี้ยงได้แก่ 

1.บริการฝากดูแล / พาสัตว์เลี้ยงเดินเล่น : จากการสำรวจของ LWS พบว่า 16% ของผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสนใจที่จะได้รับบริการฝากดูแล/พาสัตว์เลี้ยงเดินเล่น เนื่องจากเจ้าของสัตว์เลี้ยงต้องไปทำงานข้างนอก หรือไปธุระที่ไม่สามารถพาสัตว์เลี้ยงไปด้วยได้ และกว่า 30% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีความต้องการพื้นที่สวนสำหรับสัตว์เลี้ยงในโครงการ เพื่อให้สัตว์เลี้ยงได้เดินเล่น และออกกำลังกาย ลดความเครียดจากการอยู่แต่ในห้อง

2.บริการทำความสะอาดห้องชุดที่มีสัตว์เลี้ยง : เป็นบริการที่จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีให้บริการในคอนโดที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ โดยอาจมีการให้บริการทำความสะอาดห้อง / ทำความสะอาดอุปกรณ์ เช่น กระบะทรายแมว ซักเบาะรองนอน ฆ่าเชื้อภายในห้องชุด เป็นต้น

3.บริการออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์สำหรับสัตว์เลี้ยงในห้องชุด : จากผลการสำรวจของ LWS พบว่า 52% จากผู้ตอบแบบสอบถามเลี้ยงแมว ซึ่งเป็นสัดส่วนมากที่สุด รองลงมาคือสุนัขที่ 29% ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ หรืออุปกรณ์ต่างๆ จะออกแบบเฉพาะสัตว์เลี้ยงโดยตรง เช่น ชั้นสำหรับปีน เสาสำหรับฝนเล็บ ตาข่าย/กระจกกันสัตว์เลี้ยงจากตกระเบียง จะเป็นธุรกิจซึ่งมีโอกาสเติบโตไปพร้อมกันกับคอนโดที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้เช่นเดียวกัน

4.ร้านขายอาหารสัตว์และอุปกรณ์สัตว์เลี้ยง : เนื่องจากอาหารสัตว์เลี้ยงเป็นสิ่งที่ต้องใช้ทุกวัน และผู้ตอบแบบสอบถามต้องการความสะดวกสบาย ไม่ต้องออกไปซื้อทุกครั้งเมื่ออาหารหมดลง ถ้าภายในโครงการมีร้านขายอาหารสัตว์และอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงจะสามารถตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ซื้อได้มากยิ่งขึ้น

5.บริการสปา / อาบน้ำ / แต่งขนสัตว์เลี้ยง : สัตว์เลี้ยงก็ควรได้รับการผ่อนคลายและการดูแล บ่อยครั้งการอาบน้ำสัตว์เลี้ยงเองเป็นเรื่องที่ยากของเจ้าของ บริการสปา / อาบน้ำ / แต่งขนสัตว์เลี้ยง จะเป็นหนึ่งในบริการที่ทำให้ผู้พักอาศัยเองได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น ซึ่งผู้พัฒนาโครงการเองก็ได้ประโยชน์จากบริการนี้เช่นเดียวกัน เช่น ลดกลิ่น ลดการเกิดโรคติดต่อในสัตว์เลี้ยง

6.บริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพสัตว์เลี้ยง : คอนโดที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้ควรมีบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของสัตว์เลี้ยง เช่น คลีนิคสัตว์ หรือโรงพยาบาลสัตว์ขนาดเล็กในพื้นที่ เนื่องจากบ่อยครั้งที่สถานที่รักษาสัตว์ภายนอกโครงการเปิดให้บริการไม่เป็นเวลา หากเกิดเหตุฉุกเฉินก็อาจจะทำให้สัตว์เลี้ยงอาจไม่ได้รับบริการที่ทันท่วงที หรือหากภายในโครงการไม่มีคลีนิคสัตว์เลี้ยงอยู่ภายในโครงการ ก็สามารถติดต่อเพื่อสร้างเครือข่ายกับโรงพยาบาลสัตว์ / คลีนิคใกล้เคียงในพื้นที่ได้เช่นเดียวกัน หรือผู้พัฒนาโครงการอาจจัดบริการเสริมเช่น บริการรถรับ-ส่งพาสัตว์เลี้ยงไปหาหมอ/คลีนิค เป็นต้น

“พฤติกรรมของผู้ซื้อที่เปลี่ยนไปทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องปรับตัวพัฒนาโครงการที่ตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเฉพาะกลุ่มมากขึ้นอาคารชุดที่สามารถเลี้ยงสัตว์ได้เป็นหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ที่จะพัฒนาโครงการเพื่อตอบโจทย์กับความต้องการของผู้ซื้อ” นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว 

#LPN #LPNDevelopment #LivableCommunity #LPNสังคมคุณภาพ #บ้านLPN #LPNน่าอยู่ #LWS #อสังหาริมทรัพย์ไทย #วิจัยอสังหาฯ

Recent Articles

TCMA คว้า 2 รางวัลใหญ่ กระทรวงพาณิชย์

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สร้างการยอมรับระดับประเทศ จากความมุ่งมั่นร่วมมือทุกภาคส่วนต่อเนื่อง เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มุ่งสู่ Net Zero ปี 2593 เข้ารับ 2 รางวัลเกียรติยศ “สมาคมการค้ายอดเยี่ยม” และ “นายกสมาคมการค้าดีเด่น” ประจำปี 2567 จากกระทรวงพาณิชย์

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...