25.9 C
Bangkok
Thursday, September 19, 2024

ตลาดคอนโดมิเนียมในพัทยา

คอนโดมิเนียมในพัทยาประมาณ 62% อยู่ในทำเลจอมเทียนและนาจอมเทียน

เพราะช่วงหลายปีที่ผ่านมามีโครงการเปิดขายใหม่จำนวนมากในทำเลนี้

บางปีมีโครงการเปิดขายใหม่หลายพันยูนิตต่อเนื่องกัน 2 – 3 ปี แต่พอเจอช่วงที่ตลาดคอนโดมิเนียมชะลอตัวต่อเนื่องกัน

ทั้งเรื่องของค่าเงินรูเบิลรัสเซียที่ลดลงกว่า 40 – 50% ในช่วงปีพ.ศ.2557 – 2559 กว่าจะฟื้นตัวก็ช่วงปีพ.ศ.2560 เป็นต้นมา

ซึ่งช่วงก่อนปีพ.ศ.2557 เป็นช่วงที่ตลาดคอนโดมิเนียมในพัทยากำลังขยายตัวอย่างมาก

มีโครงการคอนโดมิเนียมราคาไม่แพงเปิดขายใหม่ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในทำเลจอมเทียนที่เป็นทำเลยอดนิยมของชาวรัสเซีย

ดังนั้น เมื่อกำลังซื้อของชาวรัสเซียลดลง การซื้อขายคอนโดมิเนียมในพัทยาจึงอยู่ในช่วงชะลอตัว

และมาเจอกับสถานการณ์โควิด-19 อีกครั้งในช่วงปีพ.ศ.2563 – 2565

ทำให้ตลาดคอนโดมิเนียมในพัทยา โดยเฉพาะทำเลจอมเทียน และนาจอมเทียนยังมีคอนโดมิเนียมเหลือขายค่อนข้างเยอะในปัจจุบัน

เพราะเป็นเพียงไม่กี่พื้นที่ในพัทยาที่ยังหาที่ดินเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ตามแนวถนนจอมเทียน สาย 2 ซึ่งเป็นทำเลใหม่ที่เกิดการตัดถนนจอมเทียนสาย 2 ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา

และปัจจุบันก็ยังคงมีที่ดินขนาดใหญ่เหลือพอให้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่

รวมไปถึงทำเลนาจอมเทียนที่มีโครงการเปิดขายใหม่ไม่น้อยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เพราะเป็นทำเลที่สามารถพัฒนาโครงการติดชายหาดได้เลยเหมือนที่วงศ์อมาตย์

ทำให้มีโครงการคอนโดมิเนียมและโรงแรมเกิดขึ้นไม่น้อยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ใช่ทุกโครงการที่จะติดชายหาด เพราะด้วยราคาที่ดินที่ค่อนข้างสูง

อีก 1 ทำเล คือ พื้นที่ตามแนวถนนพัทยาสาย 1 พัทยาสาย 2 และพัทยาสาย 3 เพราะในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ไม่มาก

เนื่องจากที่ดินว่างเปล่าเหลือให้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์น้อยมาก วงศ์อมาตย์ และพัทยาเป็นทำเลที่มีการพัฒนามาต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 – 40 ปี

ดังนั้น จึงหาที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการใหม่ๆ ได้ยาก ยกเว้น เจ้าของที่ดินต้องการปรับเปลี่ยนการใช้งานบนที่ดิน เพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของที่ดินในปัจจุบัน และราคาที่ดินที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต

พื้นที่ตามแนวชายหาดมีการพัฒนาแทบจะเต็มพื้นที่แล้ว การจะพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ใหม่ๆ บนที่ดินที่ติดกับชายหาดเป็นเรื่องยากมากๆ เพราะหาที่ดินเพื่อการพัฒนาได้ยาก และราคาที่ดินก็ค่อนข้างสูง

ปัจจุบันขายกันที่มากกว่า 400,000 บาทต่อตารางวาไปแล้วอาจจะมีที่มากกว่านี้ เพราะที่ดินหาได้ยาก ถ้าไกลจากชายหาดก็อยู่ที่ประมาณ 300,000 บาทต่อตารางวา

Recent Articles

TCMA คว้า 2 รางวัลใหญ่ กระทรวงพาณิชย์

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สร้างการยอมรับระดับประเทศ จากความมุ่งมั่นร่วมมือทุกภาคส่วนต่อเนื่อง เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มุ่งสู่ Net Zero ปี 2593 เข้ารับ 2 รางวัลเกียรติยศ “สมาคมการค้ายอดเยี่ยม” และ “นายกสมาคมการค้าดีเด่น” ประจำปี 2567 จากกระทรวงพาณิชย์

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...