25.9 C
Bangkok
Thursday, September 19, 2024

กำลังซื้อชะลอตัว ผู้ประกอบการเปิดขายโครงการใหม่ลดลง

กำลังซื้อหรือความต้องการบ้านในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาอาจจะยังมีอยู่ เพียงแต่การซื้อขายที่เกิดขึ้นจริงๆ ลดลง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นๆ

โดยเฉพาะเรื่องของการขอสินเชื่อธนาคารที่ทำได้ยากมากขึ้น ซึ่งทั้งกลุ่มของผู้ซื้อที่สถาบันการเงินปฏิเสธสินเชื่อ และกลุ่มของผู้ที่ขอสินเชื่อแล้วสถาบันการเงินให้สินเชื่อไม่เต็มจำนวนของมูลค่าบ้านหรือคอนโดมิเนียม

แม้ว่า กลุ่มเหล่านี้จะไม่ได้อยู่ในกลุ่มที่จะโดนลดวงเงินสินเชื่อตามเกณฑ์ของ LTV ซึ่งเมื่อการขอสินเชื่อธนาคารทำได้ยากย่อมมีผลต่อเนื่องมาถึงการโอนกรรมสิทธิ์บ้านและคอนโดมิเนียมแน่นอน

นอกจากนี้ยังมีผลต่อเนื่องไปถึงความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ

โดยพิจารณาได้จากการที่มีจำนวนบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ลดลงค่อนข้างมาก คอนโดมิเนียมลดลงกว่า 9.5% บ้านจัดสรรลดลงประมาณ 17.2%

บ้านและคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในช่วง 3 ไตรมาสที่ผ่านมาของปีพ.ศ.2566 ลดลงแบบชัดเจน

แต่ที่น่าสนใจคือ เรื่องของมูลค่าของบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมที่เปิดขายใหม่ ที่บอกว่าน่าสนใจเพราะว่ามูลค่าของบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่กลับมีมูลค่ามากขึ้น

โดยคอนโดมิเนียมมีมูลค่ามากขึ้น 10.9% บ้านจัดสรรมีมูลค่ามากขึ้น 14.2%

ซึ่งคำตอบของเรื่องนี้ คือ การที่มีโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียมราคาแพงเปิดขายใหม่มากขึ้น

ซึ่งจากสถานการณ์ในปัจจุบันคงต้องรออีกระยะน่าจะถึงปีหน้าจึงจะเห็นได้ชัดเจนว่าการชะลอของตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในฝั่งของอุปสงค์จะเริ่มดีขึ้นเมื่อไหร่

การชะลอตัวของตลาดที่อยู่อาศัยสามารถเห็นได้ชัดเจนจากผลประกอบการของผู้ประกอบการในตลาดอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขาย

โดย 9 เดือนที่ผ่านมา ผลประกอบการของกลุ่มผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขายเป็นตัวบ่งชี้ได้เป็นอย่างดีว่าตลาดที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วงชะลอตัว

โดยผลประกอบการรวม 9 เดือนที่ผ่านมาในปีพ.ศ.2566 ของ 39 บริษัทผู้ประกอบการที่พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยเพื่อขายในตลาดหลักทรัพย์มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นประมาณ 1.37%

ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นไม่มากนัก แต่ก็ได้ไม่ได้ลดลง แต่ถ้าพิจารณาในด้านของกำไรที่ยังลดลงประมาณ 6.37%  

อาจจะมีเพียงช่วงไตรมาสที่ 3 ที่ผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ลดลงทั้งในฝั่งของรายได้และกำไร

โดยรายได้รวมของทั้ง 39 บริษัท ณ ไตรมาสที่ 3 2566 ลดลง 2.9% ในส่วนของกำไรลดลงถึง 20% ซึ่งผลประกอบการในไตรมาสที่ 3

สะท้อนให้เห็นว่าการที่ผู้ประกอบการมีรายได้ลดลงไม่มาก อาจจะเป็นเพราะว่าช่วงไตรมาสที่ 3

พวกเขาพยายามสร้างรายได้โดยเฉพาะจากการโอนกรรมสิทธิ์โครงการที่สร้างเสร็จแล้ว

และมีการจัดโปรโมชั่นในเรื่องของราคาออกมาสร้างความน่าสนใจ ยอมลดกำไรลงบ้าง

และมีการจัดกิจกรรมต่อเนื่องไปถึงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้เลย

Recent Articles

TCMA คว้า 2 รางวัลใหญ่ กระทรวงพาณิชย์

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สร้างการยอมรับระดับประเทศ จากความมุ่งมั่นร่วมมือทุกภาคส่วนต่อเนื่อง เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มุ่งสู่ Net Zero ปี 2593 เข้ารับ 2 รางวัลเกียรติยศ “สมาคมการค้ายอดเยี่ยม” และ “นายกสมาคมการค้าดีเด่น” ประจำปี 2567 จากกระทรวงพาณิชย์

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...