30.9 C
Bangkok
Saturday, October 5, 2024

พื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครด้านใต้ของสะพานสาทร

พื้นที่ริมถนนเจริญนครมีการเปลี่ยนแปลงและศักยภาพที่แตกต่างกัน โดยจะสามารถแบ่งได้ง่ายๆ ด้วยสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสะพานสาทร ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมทั้งสองฝั่งของกรุงเทพมหานครเข้าด้วยกัน ก่อนหน้านี้เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางข้ามไปมาของพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และอาจจะพูดได้ว่าแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเสมือนเขตแดนที่กั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในฝั่งพระนครไม่ให้ข้ามมายังฝั่งธนบุรี อาจจะมีโครงการอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรมในฝั่งธนบุรีบ้างแต่ก็ยังอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น พื้นที่ริมถนนเจริญนคร และถนนกรุงธนบุรี จนกระทั่งสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี และสถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ เปิดให้บริการในปีพ.ศ.2552 จากนั้นจึงเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้าทั้ง 2 สถานี

ก่อนหน้าที่จะมีสถานีรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับฝั่งพระนคร การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตามแนวเจริญนครนั้นจะพบได้ในฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลักโดยมีทั้งโครงการคอนโดมิเนียมและโรงแรมกระจายอยู่ตลอดพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนคร โดยในอดีตพื้นที่รอบๆ ท่าเรือข้ามฟากตามแนวถนนเจริญนครจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างชัดเจน เพราะฝั่งตรงข้ามของพื้นที่ที่มีท่าเรือเหล่านี้เป็นถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเนื่องกับ CBD ของกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อมีสถานีรถไฟฟ้าเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงดูเหมือนจะมีการกระจุกตัวอยู่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรีแบบชัดเจน จากนั้นเริ่มขยายไปทางตอนเหนือของสะพานสาทรมากกว่าพื้นที่ทางตอนใต้ของสะพานสาทร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการไอคอนสยามที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทองตามมาด้วยนั้นเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนสำคัญของพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครในทิศทางตอนเหนือของสะพานสาทร มีทั้งโครงการไอคอนสยามเฟส 2 ที่มีทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน และพื้นที่ค้าปลีก รวมไปถึงโครงการคอนโดมิเนียมอีกหลายโครงการที่เปิดขายใหม่ในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา

พื้นที่ทางทิศใต้ของสะพานสาทรหรือพื้นที่ในช่วงที่ถนนเจริญนครลอดผ่านสะพานสาทรไปจนถึงจุดสิ้นสุดของถนนเจริญนครที่คลองดาวคะนองนั้น แทบไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเลยในช่วง 10 – 20 ปีที่ผ่านมา อาจจะมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายบ้างแต่ก็เฉพาะในพื้นที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา และก็มีเพียงโครงการคอนโดมิเนียมเท่านั้นที่เข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในพื้นที่นี้ อาจจะมีโรงแรมบ้างแต่ก็เป็นโรงแรมที่เปิดให้บริการมานานแล้ว ร้านอาหารหรือโครงการพาณิชยกรรมอื่นๆ ก็มีไม่มากนัก แต่ในอนาคตเชื่อว่าจะคึกคักมากขึ้นแน่นอน แม้ว่าพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครช่วงนี้อาจจะไม่มีเส้นทางรถไฟฟ้า แต่มีโครงการขนาดใหญ่ของกระทรวงมหาดไทยเข้ามาทดแทน เป็นโครงการศูนย์ราชการกระทรวงมหาดไทยที่ก่อสร้างบนที่ดินราชพัสดุขนาด 19 ไร่ ติดแม่น้ำเจ้าพระยา และถนนเจริญนคร มีอาคารสูงรวมกัน 6 อาคาร ทั้งโครงการมีพื้นที่ใช้สอยรวม 220,400 ตารางเมตรรองรับข้าราชการกว่า 7,000 คน โดยทั้ง 6 อาคารจะเป็นสำนักงานของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย กรมที่ดิน กรมการปกครอง  กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ด้วยงบประมาณในการพัฒนาประมาณ 6 พันล้านบาท คาดว่าจะเริ่มการก่อสร้างภายในปีพ.ศ.2564 และใช้เวลาในการก่อสร้างอีกประมาณ 2 – 3 ปี ดังนั้น การมีคนเข้ามาในพื้นที่มากถึงประมาณ 7,000 คนแบบนี้ย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่แน่นอนในอนาคต ซึ่งคงต้องดูไปอีกหลายปีก่อนถึงจะเห็นชัดเจน

การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครอาจจะมีให้เห็นแบบชัดเจนในช่วงต้นถนนถึงช่วงพื้นที่ที่ไม่ไกลจากสะพานสาทรมากนัก พื้นที่ที่ไกลออกไปยังคงมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากจากในอดีต แม้ว่าจะมีข่าวการพัฒนาโครงการใหม่ๆ บ้างแต่ก็ยังคงเป็นโครงการคอนโดมิเนียมเท่านั้น แต่โครงการพื้นที่ค้าปลีกก็มีให้ได้ตื่นเต้นบ้างเพียงแต่ยังไม่ได้เริ่มการก่อสร้างแบบเป็นรูปธรรมเท่านั้น โครงการเอเชียทีค 2 ที่เคยมีข่าวว่าจะมีการพัฒนาบนที่ดินขนาด 50 ไร่ที่อยู่ตรงข้ามเอเชียทีค 1 บนถนนเจริญกรุง เป็นอีก 1 โครงการที่คนในพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครพื้นที่นี้รอคอยให้เป็นจริง เพราะจะได้สร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นแบบพื้นที่ช่วงตั้งแต่สะพานสาทรขึ้นไปทางทิศเหนือถึงคลองสานบ้างซึ่งเปลี่ยนแปลงไปชัดเจน ยิ่งเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทองเปิดให้บริการยิ่งเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงแบบชัดเจน เพราะคนจำนวนหนึ่งจะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางไปจากในอดีตเพราะเปลี่ยนมาใช้บริการเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง ร้านค้า ร้านอาหาร หรือคอมมูนิตี้มอลล์ก็อาจได้รับผลกระทบเช่นกัน ความหนาแน่นของร้านค้าอาจจะไปกระจุกตัวในพื้นที่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้าแทนที่จะกระจายอยู่รอบป้ายรถประจำทางแบบปัจจุบัน อีกทั้งผังเมืองกรุงเทพมหานครฉบับใหม่มีการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครให้มีศักยภาพสูงขึ้น และมีความเป็นไปได้ที่อาจจะมีโครงการอสังหาริมทรัพย์รูปแบบอื่นๆ เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ โดยเฉพาะในพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครช่วงตั้งแต่สะพานสาทรขึ้นไปถึงคลองสาน

พื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครทางทิศใต้ของสะพานสาทรมีคอนโดมิเนียมสะสมในพื้นที่ประมาณ 4,923 ยูนิตโดยส่วนใหญ่เปิดขายมาตั้งแต่หลายปีก่อนหน้านี้ทั้งสิ้น มีเพียง 3 – 4 โครงการเท่านั้นที่เปิดขายในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมา และได้รับความนิยมในระดับสูงเช่นกันกับพื้นที่อื่นๆ หลายโครงการปิดการขายในเวลารวดเร็ว อัตราการขายเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 93% โดยราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมในพื้นที่นี้อยู่ที่ประมาณ 93,000 บาท แม้ว่าจะมีโครงการคอนโดมิเนียมบางโครงการที่มีราคาขายมากกว่า 130,000 บาทต่อตารางเมตร แต่ด้วยพื้นที่นี้มีโครงการคอนโดมิเนียมเก่าอยู่หลายโครงการจึงมีผลให้ราคาขายเฉลี่ยคอนโดมิเนียมในพื้นที่นี้ไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับพื้นที่ทางตอนเหนือของสะพานสาทร

Recent Articles

เอพี ไทยแลนด์ ส่ง HOMERUN ฟื้นชีวิตตลาดที่อยู่อาศัยมือสอง

นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บมจ. เอพี ไทยแลนด์ กล่าวว่า เอพียังคงตั้งมั่นอยู่ภายใต้พันธกิจสำคัญคือ EMPOWER LIVING หรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย มุ่งส่งมอบชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ให้กับทุกคน ด้วยการทำงานแบบเจาะลึก เข้มข้น เพื่อครองความเป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ผ่าน...

LINE แนะธุรกิจอสังหาฯ เดินหน้าสร้างความได้เปรียบ พลิกวิกฤตเป็นโอกาสด้วย LINE

ในยุคที่เทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญขับเคลื่อนธุรกิจ การพัฒนาและปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นสิ่งที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ตลาดต้องเผชิญกับความท้าทายและวิกฤตต่างๆ ผู้ประกอบการที่สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นผู้ได้เปรียบในตลาดมากที่สุด LINE ตระหนักถึงการสร้างความได้เปรียบนี้ จึงจัดสัมมนาย่อย “Making LINE a Home for Real Estate” เปิดข้อมูลการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี LINE โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก LINE ประเทศไทย อัพเดทเทรนด์ธุรกิจตลาดอสังหาฯ ที่น่าสนใจ แนะนำเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยให้ธุรกิจอสังหาฯ...

อาคารสินธรคว้ารางวัล LEED (O+M) GOLD และ FITWEL 2 ดาว

‘กลุ่มสยามสินธร’ ตอกย้ำความสำเร็จวิถีธุรกิจยั่งยืน ปั้น ‘อาคารสินธร’ (Sindhorn Offices) สู่อาคารสำนักงานมาตรฐานระดับโลก LEED (O+M) GOLD และ FITWEL โดดเด่นด้านสุขภาพและสุขภาวะที่ดี การประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด ‘E-S-G’ ตอกย้ำเป้าหมายสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ขับเคลื่อนธุรกิจเติบโตยั่งยืน ตอบโจทย์คนทำงานยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลของชีวิต...

TCMA คว้า 2 รางวัลใหญ่ กระทรวงพาณิชย์

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สร้างการยอมรับระดับประเทศ จากความมุ่งมั่นร่วมมือทุกภาคส่วนต่อเนื่อง เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มุ่งสู่ Net Zero ปี 2593 เข้ารับ 2 รางวัลเกียรติยศ “สมาคมการค้ายอดเยี่ยม” และ “นายกสมาคมการค้าดีเด่น” ประจำปี 2567 จากกระทรวงพาณิชย์

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...