25.9 C
Bangkok
Thursday, September 19, 2024

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครทำไมแพง

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครเป็นอะไรที่หลายๆ คนบอกว่าแพงมาก

และมีความพยายามในการปรับลดค่าโดยสารลงมาแล้วหลายครั้ง แต่ติดที่ที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือรถไฟฟ้า BTS

เนื่องจากเป็นเส้นทางที่รัฐบาลให้เอกชนลงทุนเองทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจึงไม่สามารถเข้าไปมีอำนาจในการลดราคาได้

แต่สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน สายสีทอง และเส้นทางรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการใหม่ในอนาคตรัฐบาลสามารถดำเนินการได้

โดยค่าโดยสารที่มีการปรับลดไปแล้วและที่กำลังจะมีการเจรจากันอยู่นั้น เช่น

ค่าโดยสารเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือ BTS ที่มีทั้งสายหลัก ส่วนต่อขยายช่วงที่ 1 และช่วงที่ 2 ตามโครงสร้างราคาใหม่ที่กรุงเทพมหานครเจรจาได้ข้อยุติกับบีทีเอส มีค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาทและสูงสุดที่ 65 บาท

สายสีทองเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายแต่เมื่อเข้าระบบรถไฟฟ้า BTS ที่สถานีกรุงธนบุรีจะต้องเสียค่าแรกเข้าอีก 16 บาท

สายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) ซึ่งมีแผนจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 จะเก็บค่าโดยสารแรกเข้าที่ 14 บาทสูงสุด 42 บาท

สายสีแดง (ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต) เปิดให้บริการในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2564 เก็บค่าแรกเข้า 15 บาท สูงสุดที่ 50 บาท

สำหรับแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งตอนนี้เก็บค่าโดยสาร 15-45 บาท และต้องดูว่าหลัจากที่กลุ่ม ซี.พี.เข้ามาบริหารระบบในเดือนตุลาคม พ.ศ.2564 จะปรับค่าตั๋วใหม่หรือไม่ แต่ในสัญญากำหนดให้ราคาจากสถานีพญาไท – สถานีสุวรรณภูมิไม่เกิน 45 บาท/เที่ยว แต่ถ้าเปิดส่วนต่อขยายเพิ่มเติมจากพญาไทไปยังบางซื่อ และดอนเมือง จะเก็บได้ไม่เกิน 97 บาท/เที่ยว

ซึ่งจริงๆ แล้วค่าโดยสารที่บอกว่าลดลงแล้วก็ยังสูงอยู่ดี และทุกเส้นทางยังต้องมาเชื่อต่อกับเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือ BTS อยู่ดีซึ่งต้องเสียค่าแรกเข้าใหม่ตลอด และต้องรอดูเรื่องของระบบตั๋วร่วม ตั๋วเที่ยวที่อาจจะทำให้ค่าโดยสารถูกลง แต่รอมานานละยังไม่สามารถจบได้สักที

Recent Articles

TCMA คว้า 2 รางวัลใหญ่ กระทรวงพาณิชย์

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สร้างการยอมรับระดับประเทศ จากความมุ่งมั่นร่วมมือทุกภาคส่วนต่อเนื่อง เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มุ่งสู่ Net Zero ปี 2593 เข้ารับ 2 รางวัลเกียรติยศ “สมาคมการค้ายอดเยี่ยม” และ “นายกสมาคมการค้าดีเด่น” ประจำปี 2567 จากกระทรวงพาณิชย์

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...

แลนดี้ โฮม จับมือ Gluta Story เปิดตัวแบบบ้านใหม่

ศูนย์รับสร้างบ้านแลนดี้ โฮม (Landy Home) ตอกย้ำภาพผู้นำตลาดรับสร้างบ้าน จับมือ “Gluta Story” Influencer ชื่อดังสายสัตว์เลี้ยง ขวัญใจคนรักสัตว์ พัฒนาแบบบ้านใหม่ “Pet Friendly Collection” เจาะกลุ่มตรงใจสาย Pet Lover 2 แบบ 2 สไตล์...

กลุ่มรัตนรักษ์เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในปูนซีเมนต์นครหลวง

ในวันนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดของปูนซีเมนต์นครหลวงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มเติมในจำนวนร้อยละ 25.54 จาก Jardine Cycle & Carriage Limited ส่งผลให้สัดส่วนการถือหุ้นของกลุ่มรัตนรักษ์รวมกันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 71.88 ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ทำให้ต้องมีการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ที่เหลือทั้งหมดจากผู้ถือหุ้นรายย่อยตามมา ทั้งนี้ บริษัทเข้าใจว่า ไม่ว่าการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ดังกล่าวจะมีผลเป็นอย่างไร ปูนซีเมนต์นครหลวงจะยังคงเป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไปตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการจดทะเบียนที่เกี่ยวข้อง โดยภายหลังการเข้าซื้อหุ้นในครั้งนี้ กลุ่มรัตนรักษ์ ในฐานะผู้ก่อตั้งปูนซีเมนต์นครหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 จะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้ถือหุ้นที่มีอํานาจควบคุมเพียงรายเดียว

ครั้งแรกของประเทศ! “LIV-24” ผนึก “ภาครัฐผู้กำกับนโยบายอุตสาหกรรม”

• ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญของประเทศไทย ภาครัฐ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กนอ. และ สภาอุตสาหกรรม ผนึกกำลังภาคเอกชน โดย LIV-24 จัดงานใหญ่แห่งปี ก้าวข้ามขีดจำกัด สู่ยุคอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย AI และ INDUSTRIAL TECH • ผู้ประกอบการเร่งปรับตัว...