คนอายุน้อยมีปัญหาเรื่อง NPL มากกว่า

สัดส่วนของคนที่มีปัญหาเรื่อง NPL ค่อนข้างมากจะอายุไม่มาก

3

คนไทยรายย่อยที่ทำงานมีเงินเดือนสามารถเข้าถึงสินเชื่อประเภทที่ไม่ต้องมีหลักประกันได้ค่อนข้างง่าย

หลายคนเพิ่งจะเริ่มทำงานก็เป็นหนี้สินบัตรเครดิต หรือสินเชื่อส่วนบุคคลกันแล้ว

ซึ่งจากข้อมูลของบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)

สัดส่วนหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ณ สิ้นปี 2564 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้มาอยู่ที่ 8% ของหนี้ครัวเรือน

จากที่ก่อนหน้านี้ในปี 2562 อยู่ที่ 7% นั่นเพราะการขาดรายได้หรือรายได้ลดลงในช่วงโควิด-19

ทำให้คนจำนวนหนึ่งต้องหาเงินมาหมุนเวียนใช้ในชีวิตประจำวัน หรือเพื่อชำระอะไรบางอย่าง

นอกจากนี้ มีอีกข้อมูลที่น่าสนใจคือ สัดส่วนของคนที่เป็น NPL (หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้)

ซึ่งมีสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงตั้งแต่อายุ 22 ปีเป็นต้นไปถึงช่วงก่อน 40 ปี

โดยสัดส่วนของที่มีอายุ 22 ปีแล้วมีปัญหาเรื่องของ NPL อย่างน้อย 1 บัญชี ณ สิ้นปี 2564 คือ 23.9%

จากนั้นเริ่มมีสัดส่วนลดลงก่อนที่จะมากขึ้นอีกครั้งในช่วงอายุประมาณ 30ปี

โดยสัดส่วนของคนที่มีปัญหาเรื่องของ NPL ในช่วงอายุ 31 ปีมีมากที่สุด คือ 24.4%

นั่นหมายความว่าคนอายุ 31 ปีในประเทศไทยมีปัญหาเรื่องของ NPL มากถึง 24.4 คน

แต่แน่นอนว่าข้อมูลนี้สำรวจหลังจากที่คนไทยอยู่กับโควิด-19 มาแล้วมากกว่า 2 ปี

หลายๆ อย่างจึงออกมาดูเลวร้าย แต่ก็มีผลต่อเนื่องในระยะยาวสำหรับหลายธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เงินจากกระเป๋าของคนไทย