30.9 C
Bangkok
Wednesday, February 5, 2025
- Advertisement -

CATEGORY

บทความ

ช่วงเวลารักษาตัวและค่อยๆ ขยายตัวไปเรื่อยๆ

วิกฤตเศรษฐกิจในปีพ.ศ.2540 ส่งผลต่อเนื่องให้กับตลาดอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทอีก 3 – 4 ปี จากนั้น ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายรายไปต่อไม่ได้ต้องหยุดกิจการทันที ปล่อยให้โครงการหรืออาคารที่กำลังก่อสร้างจำนวนมากค้างเติ่งไม่มีการก่อสร้างต่อจนกระทั่งผ่านไปสักระยะค่อยมาดำเนินการต่อโดยเจ้าของเดิมหรือเจ้าของบริษัทหรือเจ้าของโครงการรายใหม่ อาคารสำนักงานจำนวนมากหยุดการก่อสร้างและมีผลต่อเนื่องให้หลายอาคารสำนักงานมีพื้นที่ว่างมากขึ้นแบบทันที เพราะหลายบริษัทปิดกิจการไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ช่วงก่อนปีพ.ศ.2540 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ตลาดอาคารสำนักงานอยู่ในช่วงขาขึ้นแบบสุดๆ ทั้งในเรื่องของอุปทานที่มีอาคารสำนักงานเปิดให้บริการใหม่ปีละหลายแสนตารางเมตร และความต้องการพื้นที่สำนักงานหรืออุปสงค์ก็มีไม่น้อยเช่นกัน เพราะความต้องการพื้นที่สำนักงานในช่วงก่อนปีพ.ศ.2540 ที่มีการขยายตัวมากเช่นกันจึงมีผลให้ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานบางอาคารปรับเพิ่มขึ้นไปสูงกว่า 700 –...

คอนโดมิเนียมรอบสถานีรถไฟฟ้าบางหว้า

พื้นที่ถนนเพชรเกษมอีกจุดที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตพอสมควรคือ บางหว้า หรือจุดที่เป็นสถานีรถไฟฟ้าร่วมระหว่างสายสีเขียว และสายสีน้ำเงินที่สถานีบางหว้า ซึ่งเป็นสถานีร่วมของรถไฟฟ้าที่อยู่ติดกันจริงๆ พื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าบางหว้ามีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2554 อาจจะมีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายมาก่อนหน้านี้แล้วแต่เป็นโครงการที่มีรูปแบบเก่า จากนั้นก็เริ่มมีโครงการคอนโดมิเนียมเพิ่มเติมเข้ามาในพื้นที่นี้เรื่อยๆ แต่ชะลอไปตั้งแต่ปีพ.ศ.2561 เพราะโครงการล่าสุดที่เปิดขายในพื้นที่นี้คือเปิดขายในปีพ.ศ.2561

สี่แยกท่าพระในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตมากมาย

พื้นที่ต่อเนื่องจากบางหว้าที่มีการเปลี่ยนแปลต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแล้วหยุดไป คือ สี่แยกท่าพระ เป็นอีกพื้นที่ที่เงียบลงไปในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านี้ค่อนข้างมีการเปลี่ยนแปลงมากมายโดยเห็นตั้งแต่ปีพ.ศ.2553 เป็นต้นมา คอนโดมิเนียมสะสมในพื้นที่รอบสี่แยกท่าพระตั้งแต่ปีพ.ศ.2551 – 2564...

บางแคในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตเยอะมาก

จริงๆ แล้วกว่าที่บางแคจะเป็นแบบทุกวันนี้ก็ผ่านอะไรที่แย่ๆ มาไม่น้อยเหมือนกัน โดยเฉพาะช่วงหลังจากวิกฤตต้มยำกุ้งในปีพ.ศ.2540 จากที่เคยมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้นมากมายในช่วงพ.ศ.2530 – 2539 กลับเหลือรอดวิกฤตมาได้แค่เดอะมอลล์ บางแคที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายในมาต่อเนื่องเช่นกัน

ตลาดคอนโดมิเนียมในพื้นที่บางแค

ปัจจุบันพื้นที่รอบๆ ตลาดบางแคต่อเนื่องถึงพื้นที่โดยรอบตามแนวถนนเพชรเกษม หรือเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน เป็นอีก 1 พื้นที่ที่มีโครงการคอนโดมิเนียมอยู่ไม่น้อย เฉพาะพื้นที่รอบสถานีรถไฟฟ้าภาษีเจริญก็ 6,000 กว่ายูนิตแล้ว และทุกโครงการในพื้นที่นี้ยังเหลือขายอยู่พอสมควร แต่โครงการคอนโดมิเนียมในพื้นที่บางแคก่อนหน้านี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โครงการคอนโดมิเนียมโครงการแรกที่มีความทันสมัยหรือมีรูปแบบของโครงการไม่ได้แตกต่างจากโครงการในปัจจุบันเปิดขายในช่วงหลังจากปีพ.ศ.2550 และสามารถปิดการขายได้แบบทันที

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครทำไมแพง

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครเป็นอะไรที่หลายๆ คนบอกว่าแพงมาก และมีความพยายามในการปรับลดค่าโดยสารลงมาแล้วหลายครั้ง แต่ติดที่ที่เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือรถไฟฟ้า BTS เนื่องจากเป็นเส้นทางที่รัฐบาลให้เอกชนลงทุนเองทั้งหมดตั้งแต่เริ่มต้นจึงไม่สามารถเข้าไปมีอำนาจในการลดราคาได้ แต่สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน สายสีทอง และเส้นทางรถไฟฟ้าที่จะเปิดให้บริการใหม่ในอนาคตรัฐบาลสามารถดำเนินการได้

การขยายตัวแบบก้าวกระโดดของอาคารสำนักงาน

ก่อนหน้าที่จะเกิดวิกฤตโควิด-19 คนจำนวนมากที่ทำงานในบริษัทเอกชน หรือแม้แต่หน่วยงานราชการต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องออกจากบ้านไปทำงานที่ที่ทำงานซึ่งเป็นพื้นที่สำนักงานที่อยู่ในอาคารสำนักงานทั้งแบบที่เป็นอาคารสำนักงานของบริษัทเอง หรือเช่าพื้นที่สำนักงานจากเจ้าของอาคาร จริงอยู่ที่โควิด-19 อาจจะมีผลให้คนส่วนหนึ่งที่ทำงานในอาคารสำนักงานต้องทำงานที่บ้านแทน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการทำงานที่บ้านจะเข้ามาทดแทนพื้นที่สำนักงานได้แบบ 100% ในอนาคตอันใกล้นี้ แล้วตลาดอาคารสำนักงานมีที่มายังไงและจะมีที่ไปแบบไหนอลงมาค่อยๆ ตามไปด้วยกันครับ สิ้นปีพ.ศ.2563 พื้นที่อาคารสำนักงานรวมในกรุงเทพมหานครอยู่ที่ประมาณ 9.4 ล้านตารางเมตร โดยตั้งแต่ปีพ.ศ.2560 เป็นต้นมา มีพื้นที่อาคารสำนักงานใหม่เข้าสู่ตลาดมากกว่า 150,000 ตารางเมตรต่อปีต่อเนื่องมาโดยตลอด และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนถึงปีพ.ศ.2566...

พื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครด้านใต้ของสะพานสาทร

พื้นที่ริมถนนเจริญนครมีการเปลี่ยนแปลงและศักยภาพที่แตกต่างกัน โดยจะสามารถแบ่งได้ง่ายๆ ด้วยสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือสะพานสาทร ซึ่งเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่เชื่อมทั้งสองฝั่งของกรุงเทพมหานครเข้าด้วยกัน ก่อนหน้านี้เป็นเส้นทางหลักในการเดินทางข้ามไปมาของพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และอาจจะพูดได้ว่าแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเสมือนเขตแดนที่กั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในฝั่งพระนครไม่ให้ข้ามมายังฝั่งธนบุรี อาจจะมีโครงการอาคารสำนักงาน คอนโดมิเนียม โรงแรมในฝั่งธนบุรีบ้างแต่ก็ยังอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ไกลจากแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น พื้นที่ริมถนนเจริญนคร และถนนกรุงธนบุรี จนกระทั่งสถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรี และสถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่ เปิดให้บริการในปีพ.ศ.2552 จากนั้นจึงเริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้าทั้ง 2 สถานี ก่อนหน้าที่จะมีสถานีรถไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับฝั่งพระนคร การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตามแนวเจริญนครนั้นจะพบได้ในฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นหลักโดยมีทั้งโครงการคอนโดมิเนียมและโรงแรมกระจายอยู่ตลอดพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนคร โดยในอดีตพื้นที่รอบๆ ท่าเรือข้ามฟากตามแนวถนนเจริญนครจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างชัดเจน เพราะฝั่งตรงข้ามของพื้นที่ที่มีท่าเรือเหล่านี้เป็นถนนเจริญกรุงซึ่งเป็นส่วนที่ต่อเนื่องกับ CBD ของกรุงเทพมหานคร แต่เมื่อมีสถานีรถไฟฟ้าเกิดขึ้น การเปลี่ยนแปลงดูเหมือนจะมีการกระจุกตัวอยู่รอบๆ สถานีรถไฟฟ้ากรุงธนบุรีแบบชัดเจน จากนั้นเริ่มขยายไปทางตอนเหนือของสะพานสาทรมากกว่าพื้นที่ทางตอนใต้ของสะพานสาทร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโครงการไอคอนสยามที่มีเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทองตามมาด้วยนั้นเป็นเสมือนจุดเปลี่ยนสำคัญของพื้นที่ตามแนวถนนเจริญนครในทิศทางตอนเหนือของสะพานสาทร มีทั้งโครงการไอคอนสยามเฟส 2 ที่มีทั้งโรงแรม อาคารสำนักงาน...

คอนโดมิเนียมสะสมในพื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก

พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้างบางเส้นทางมีโครงการคอนโดมิเนียมเกิดขึ้นมากมาย แต่บางเส้นทางแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นเลยในพื้นที่ ขึ้นอยู่กับศักยภาพปัจจุบันของพื้นที่ และรูปแบบของเส้นทางรถไฟฟ้าที่กำลังก่อสร้าง พื้นที่ตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกที่เริ่มต้นจากสถานีรถไฟใต้ดินศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยผ่านถนนพระราม 9 รามคำแหง แล้วไปสิ้นสุดที่มีนบุรีนั้น

คอนโดมิเนียมสะสมในพื้นที่สายสีเขียวตอนเหนือ

พื้นที่ตามแนวถนนพหลโยธินขึ้นไปทางตอนเหนือของห้าแยกลาดพร้าว เป็น 1 ในพื้นที่ที่ก่อนหน้านี้ 10 กว่าปีมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างชัดเจน โดยเห็นได้ชัดเจนเลยว่ามีโครงการคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่มาต่อเนื่อง เพิ่งจะลดน้อยลงในช่วงปีพ.ศ.2562 ที่ผ่านมา แต่การเปิดขายโครการคอนโดมิเนียมในอดีตที่ผ่านมานั้น

Latest news

TCMA คิกออฟกรีนฟันด์ เดินหน้าโครงการนำร่องลดคาร์บอน

TCMA ผนึกภาครัฐ ผสานความร่วมมือ UNIDO คิกออฟกรีนฟันด์รัฐบาลแคนาดา เดินหน้าโครงการนำร่องลดคาร์บอนอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์และคอนกรีต สู่สนามทดลอง ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ พร้อมเป็นต้นแบบดำเนินงานลดคาร์บอนถ่ายทอดสู่ประเทศในภูมิภาค ดร. ชนะ ภูมี นายกสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมซีเมนต์เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คิดเป็นร้อยละ 7.7 ของ...

เปิดขุมทรัพย์ทำเลทองอสังหาฯ บ้านหรูกรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ขายก็ดีปล่อยเช่าก็ได้

ทำเลในกรุงเทพมหานครที่มีโครงการบ้านจัดสรรราคาแพงเกิดขึ้นจำนวนมากมีไม่กี่ทำเล และบางทำเลกลายเป็นทำเลเก่าที่เริ่มมีโครงการเปิดขายใหม่ลดลง เนื่องจากไม่มีที่ดินในการพัฒนา และราคาที่ดินสูงเกินกว่าจะซื้อมาพัฒนาบ้านในระดับราคาเดียวหรือใกล้เคียงกับที่เคยพัฒนาและเปิดขายมาก่อนหน้านี้ อีกทั้งกำลังซื้อปัจจุบันของทำเลนั้นๆ อาจจะยังไม่สามารถตอบสนองได้เพียงพอ และมีทำเลอื่นๆ ที่มีศักยภาพรวมไปถึงสามารถพัฒนาบ้านราคาแพงเปิดขายได้ที่กำลังได้รับความสนใจ เช่น พื้นที่ตามแนวถนนบางนา - ตราดช่วงไม่เกินกม.ที่ 10 ราชพฤกษ์ เกษตร-นวมินทร์ วงแหวนกาญจนาภิเษก พุทธมณฑลสาย 1 – 4 เทพรักษ์ เทพรัตน์...

บริษัทอสังหาฯ ไทย และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกว่า 300 คน

พร็อพเพอร์ตี้กูรู กรุ๊ป บริษัทเทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE: PGRU) เปิดเวทีงานประชุมสุดยอดด้านอสังหาริมทรัพย์ PropertyGuru Asia Real Estate Summit ครั้งที่ 10 ต้อนรับผู้นำ ผู้สร้างนวัตกรรม ผู้มีวิสัยทัศน์ และนักลงทุนในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์จากทั่วประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกว่า 300 คนในวันที่ 12 ธันวาคม...

TCMA ร่วม COP29 ชูความก้าวหน้า ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’

TCMA ร่วมเวที COP29 ชูความก้าวหน้า 1 ปี ‘สระบุรีแซนด์บ็อกซ์’ ผนึกความร่วมมือองค์กรในประเทศและต่างประเทศ เร่งลงมือทำร่วมกัน ผสาน ‘นโยบาย-เงินทุน-เทคโนโลยี-ความร่วมมือ’ เพิ่มโอกาสไทยเข้าถึงเงินทุนสีเขียว หนุนขับเคลื่อนโครงการสู่เป้าหมายปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ปี 2050

ส่องตลาดออฟฟิศ ทำเลพระราม 4 สุดฮอต

ตลาดอาคารสำนักงาน ทำเลย่านพระราม 4 แข่งขันเดือดรับโค้งสุดท้ายของปี 67 พื้นที่รวมกว่า 4 แสน ตร.ม. ชูจุดขาย ‘พื้นที่เกรด A-เชื่อมต่อการเดินทาง-ดีต่อสุขภาพ-ความยั่งยืน’ ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มธุรกิจที่มองหาความสะดวกสบาย พร้อมใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จับตาการขยายตัวของเมือง โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจของกรุงเทพฯ​ CBD (Central Business...
- Advertisement -