32.9 C
Bangkok
Saturday, October 5, 2024
- Advertisement -

TAG

คอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร

คอนโดมิเนียมราคาแพงเปิดขายใหม่น้อยมากในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา

ช่วงโควิด-19 เป็นช่วงทีโครงการคอนโดมิเนียมราคาแพงเปิดขายน้อยมาก โดยเฉพาะในทำเล CBD ของกรุงเทพมหานคร ผู้ประกอบการไปเน้นที่โครงการบ้านจัดสรรราคาแพงมากกว่าแบบชัดเจน และปิดการขายกันต่อเนื่องในหลายทำเล หลายโครงการของผู้ประกอบการรายใหญ่ปิดการขายหรือมีอัตราการขายที่สูงมากหลังจากเปิดขายไม่นาน ในขณะที่โครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขายมาก่อนหน้านี้อาจจะยังไม่ได้รับความสนใจเทียบเท่าบ้านจัดสรรราคาแพง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการจะไม่มีการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมราคาแพงในอนาคต

คอนโดมิเนียมราคาแพงหลายโครงการพร้อมโอนกรรมสิทธิ์ปีนี้

โครงการคอนโดมิเนียมหลายโครงการที่มีกำหนดแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2565 เป็นโครงการคอนโดมิเนียมที่อยู่ในพื้นที่เมืองชั้นในซึ่งช่วงโควิด-19 ปีพ.ศ.2563 – 2564 แทบไม่มีโครงการเปิดขายใหม่ในพื้นที่เหล่านี้เลย โดยโครงการที่มีกำหนดแล้วเสร็จปีนี้ เป็นโครงการที่เปิดขายก่อนโควิด-19 หรือเปิดขายก่อนปีพ.ศ.2563 หรือเปิดขายในปีพ.ศ.2563 ดังนั้น หลายโครงการยังมีอัตราการขายที่ไม่สูงมาก เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 มีผลต่อกำลังซื้อ และความเชื่อมั่นในการซื้อคอนโดมิเนียมราคาแพง

ทุกบริษัทพยายามเร่งโอนกรรมสิทธิ์คอนโดมิเนียมที่สร้างเสร็จ

ช่วงโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปีพ.ศ.2563 เป็นต้นมาส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการทุกรายโดยเฉพาะเรื่องของการก่อสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ของพวกเขา ซึ่งเห็นได้ชัดเจนจากการที่โครงการคอนโดมิเนียมจำนวนมากเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จจากปีพ.ศ.2563 เป็นปีพ.ศ.2564 และเลื่อนมาปีพ.ศ.2565 สำหรับโครงการที่มีกำหนดแล้วเสร็จปีพ.ศ.2564 แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกโครงการมีปัญหาและเลื่อนกำหนดแล้วเสร็จออกไป มีเพียงแค่บางโครงการเท่านั้น ซึ่งเห็นได้ชัดในปีพ.ศ.2564 ที่มีจำนวนยูนิตแล้วเสร็จจดทะเบียนน้อยที่สุดในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา

คอนโดมิเนียมในระดับราคา 2 – 5 ล้านบาทต่อยูนิตเหลือขายมากที่สุด

เรื่องของคอนโดมิเนียมเหลือขายในกรุงเทพมหานครที่มีทั้งหมดประมาณ 47,846 ยูนิต ณ ไตรมาสที่ 2 พ.ศ.2565 อาจจะดูเหมือนเยอะ แต่ก็ไม่ได้มากแบที่น่ากังวล เพราะกรุงเทพมหานครมีคอนโดมิเนียมเหลือขายอยู่ในระดับนี้มานานหลายปีต่อเนื่องแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมีปีนี้ปีแรก และบางปีมีคอนโดมิเนียมเหลือขายมากถึง 50,000...

คอนโดมิเนียมเหลือขาย 47,846 ยูนิต หรือ 254,655 ล้านบาท

ช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยชะลอตัว จริงๆ แล้วเห็นสัญญานการชะลอตัวมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2562 แล้ว เพียงแต่ผู้ประกอบการและหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจจะมีการออกข่าวในแง่มุมอื่นๆ ซึ่งทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ยังดูเหมือนไปได้ดี

รอบๆ สี่แยกรัชโยธินในปัจจุบัน

พื้นที่แยกรัชโยธินช่วงปีพ.ศ.2559 ซึ่งเป็นปีที่เริ่มการรื้อถอนสะพานข้ามแยกรัชโยธินตามแนวถนนรัชดาภิเษก รวมไปถึงสะพานข้ามแยกตามแนวถนนพหลโยธินตรงแยกเสนานิคม โดยที่แยกรัชโยธินจะเปิดให้บริการเป็นอุโมงค์ลอดถนนพหลโยธินแทน ส่วนการรื้อถอนสะพานข้ามแยกตรงเสนานิคมก็เพื่อรองรับการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ซึ่งเป็นโครงการที่จะเข้ามาสร้างสีสันและการเปลี่ยนแปลงให้กับสี่แยกรัชโยธินมากขึ้นไปอีก หลังจากที่เงียบเหงามานานหลายปีนับจากการเปิดให้บริการของดิ อเวนิว รัชโยธินหรือเมเจอร์ รัชโยธิน

บ้านและคอนโดฯ เหลือขายยังมีอีกเยอะ

พื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑลเป็นพื้นที่ที่มีการเปิดขายโครงการที่อยู่อาศัยมากที่สุด โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่มีสัดส่วนอยู่ในกรุงเทพมหานครมากกว่าจังหวัดอื่นๆ อาจจะคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 60 - 70% ของคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ทั้งประเทศ นอกจากนี้จำนวนบ้านจัดสรรก็เยอะมากเช่นกัน รวมๆ...

คอนโดฯ เปิดขายใหม่มากกว่าปีที่แล้ว

คอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 2 พ.ศ.2565 มีทั้งหมดประมาณ 11,014 ยูนิต ลดลงจากไตรมาสที่ 1 ประมาณ 28% แต่มากกว่าจำนวนคอนโดมิเนียมเปิดขายใหม่ในไตรมาสที่ 2 พ.ศ.2564 เกือบ 5 เท่า แสดงให้เห็นว่าทางผู้ประกอบการเปิดขายโครงการใหม่มากขึ้น

ตลาดอสังหาฯ ดีขึ้นกว่า 1 – 2 ปีที่ผ่านมา

สำหรับภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพมหานครคาดว่าดีกว่าช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมาแน่นอน เพียงแต่จะดีกว่าหรือมีการขยายตัวมากกว่าถึงระดับไหนนั้นอาจจะต้องดูช่วงไตรมาสที่ 3 – 4 ปีนี้ ซึ่งถ้าไม่มีสถานการณ์อะไรที่สร้างความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจแบบรุนแรงในประเทศไทยหรือระดับโลก ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในบางประเภทจะขยายตัวมากขึ้นแน่นอน โดยเฉพาะคอนโดมิเนียมที่แม้ว่าจะอยู่ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว กำลังซื้อมีปัญหาสารพัดแบบช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

คอนโดมิเนียมรอบนิคมอุตสาหกรรมยังดีในระยะยาว

ทำเลรอบนิคมอุตสาหกรรมนั้นยังคงเป็นทำเลยอดนิยมที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยเฉพาะในพื้นที่รอบนิคมอุตสาหกรรมที่มีทิศทางในการขยายตัวจากผู้ประกอบการชัดเจน อีกทั้งอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาล เพราะการเกิดขึ้นของโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่นั่นหมายความว่าต้องมีคนเข้าไปทำงานเพิ่มขึ้นจากที่เคยมีมาแน่นอน ยิ่งมีโรงงานมากก็ยิ่งมีคนเข้าไปในพื้นที่มากขึ้นตามไปด้วย แม้ว่าหลายโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบันจะใช้ระบบสมาร์ทเทคโนโลยีที่ลดการใช้แรงงานคน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังต้องมีคนงานอยู่ในระบบอยู่ดี ทำเลรอบนิคมอุตสาหกรรมจึงเป็นทำเลที่ผู้ประกอบการเปิดขายโครงการใหม่ๆ ต่อเนื่อง

Latest news

เอพี ไทยแลนด์ ส่ง HOMERUN ฟื้นชีวิตตลาดที่อยู่อาศัยมือสอง

นายวิทการ จันทวิมล รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานกลยุทธ์องค์กรและการสร้างสรรค์ บมจ. เอพี ไทยแลนด์ กล่าวว่า เอพียังคงตั้งมั่นอยู่ภายใต้พันธกิจสำคัญคือ EMPOWER LIVING หรือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย มุ่งส่งมอบชีวิตดีๆ ที่เลือกเองได้ให้กับทุกคน ด้วยการทำงานแบบเจาะลึก เข้มข้น เพื่อครองความเป็นผู้นำในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย ผ่าน...

LINE แนะธุรกิจอสังหาฯ เดินหน้าสร้างความได้เปรียบ พลิกวิกฤตเป็นโอกาสด้วย LINE

ในยุคที่เทคโนโลยีกลายเป็นปัจจัยสำคัญขับเคลื่อนธุรกิจ การพัฒนาและปรับตัวเพื่อใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มดิจิทัลเป็นสิ่งที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ตลาดต้องเผชิญกับความท้าทายและวิกฤตต่างๆ ผู้ประกอบการที่สามารถใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นผู้ได้เปรียบในตลาดมากที่สุด LINE ตระหนักถึงการสร้างความได้เปรียบนี้ จึงจัดสัมมนาย่อย “Making LINE a Home for Real Estate” เปิดข้อมูลการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี LINE โดยมีผู้เชี่ยวชาญจาก LINE ประเทศไทย อัพเดทเทรนด์ธุรกิจตลาดอสังหาฯ ที่น่าสนใจ แนะนำเครื่องมือสำคัญที่สามารถช่วยให้ธุรกิจอสังหาฯ...

อาคารสินธรคว้ารางวัล LEED (O+M) GOLD และ FITWEL 2 ดาว

‘กลุ่มสยามสินธร’ ตอกย้ำความสำเร็จวิถีธุรกิจยั่งยืน ปั้น ‘อาคารสินธร’ (Sindhorn Offices) สู่อาคารสำนักงานมาตรฐานระดับโลก LEED (O+M) GOLD และ FITWEL โดดเด่นด้านสุขภาพและสุขภาวะที่ดี การประหยัดพลังงาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด ‘E-S-G’ ตอกย้ำเป้าหมายสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ขับเคลื่อนธุรกิจเติบโตยั่งยืน ตอบโจทย์คนทำงานยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับความสมดุลของชีวิต...

TCMA คว้า 2 รางวัลใหญ่ กระทรวงพาณิชย์

สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (TCMA) สร้างการยอมรับระดับประเทศ จากความมุ่งมั่นร่วมมือทุกภาคส่วนต่อเนื่อง เดินหน้าลดก๊าซเรือนกระจก นำอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์มุ่งสู่ Net Zero ปี 2593 เข้ารับ 2 รางวัลเกียรติยศ “สมาคมการค้ายอดเยี่ยม” และ “นายกสมาคมการค้าดีเด่น” ประจำปี 2567 จากกระทรวงพาณิชย์

‘ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ผนึกพาร์ทเนอร์ รุกอสังหาฯ สีเขียว

ปูนซีเมนต์นครหลวง’ ปูทางสู่อนาคต “สิ่งแวดล้อมที่ดี ธุรกิจเติบโตยั่งยืน” ดันนวัตกรรมปูนซีเมนต์-คอนกรีตคาร์บอนต่ำ สู่การใช้งานในอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างของไทย ผ่านโมเดลความร่วมมือกับพันธมิตร ร่วมลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ มุ่งมั่นสร้างการมีส่วนร่วมกับพันธมิตร ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม เดินหน้าสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2573 นายมนตรี นิธิกุล...
- Advertisement -